Wednesday 25 December 2013

ปัญหาน้ำนมแม่ ไม่พอ

ถาม: ตอนนี้ลูกแค่ 2 เดือนแต่น้ำนมไม่พอให้ทาน
กินทุกอย่างที่ว่าดี ทำให้มีน้ำนมเยอะ
จะทำไงดีค่ะ

ตอบ: มันไม่อยู่ที่การกินเท่านั้นนะคะ
ถ้าอยากให้มีน้ำนม ต้องให้ดูดกระตุ้นค่ะ
ในกรณีที่"นมไม่พอ" มักไม่ใช่นมไม่พอ
แต่เป็นเพราะหลายอาการของลูกที่ทำให้แม่คิดว่าตนเองนมไม่พอนะคะ

1) ลูกร้องหงุดหงิดเวลาเจอเต้า
แทบทุกคนที่ให้ลูกทานจากขวด จะติดจุกไวมากค่ะ ทำให้ใจร้อนไม่รอน้ำนมแม่ไหล ไม่ดูดเอง เจอเต้าปุ๊บจะร้องทันที
>>> วิธีแก้คือ: งดขวดค่ะ
เสริมนมผสมได้แต่ให้ป้ายน้ำนมที่หัวนม แล้วให้ลูกเข้าเต้า
ค่อยๆ หยดนมแม่ที่เต้า เวลาลูกงอแงจะอ้าปากได้รสน้ำนมพอดี จะยอมดูดต่อค่ะ
อดทน 1-2 วัน ลูกจะดูดได้เก่งขึ้นมาก ไม่ต้องกลัวลูกอดนะคะ หยดน้ำนมให้ทันก่อนลูกจะปล่อยปากจากเต้าค่ะ

2) ดูดแล้วหลับ พอวางก็ร้อง
>>> วิธีแก้: ต้องปลุกค่ะ
งดแก้วจิบหรือคัพฟีดเพราะลูกจะรอถูกกรอกอย่างเดียว ไม่ยอมดูดนมแม่เอง พอวางก็ร้อง

เห็นไหมคะ ข้อ 1 & 2 โดนกันมาก เพราะทางรพ. ป้อนแก้วป้อนขวด ลูกดูดนมแม่ไม่เป็น กลับบ้านก็เจอปัญหาคิดว่า "นมไม่พอ"

3) ปั๊มได้น้อย (แถมปั๊มแล้วใส่ขวดอีก อ่านข้อ 1)
เป็นธรรมดาที่เดือนแรกจะปั๊มไม่ออกค่ะ
เพราะร่างกายต้องการลูกใช้ลิ้นดูดกระตุ้น
ไม่ใช่ใช้เครื่องปั๊ม << เป็นเพียงตัวช่วยเท่านั้น

4) นอนไม่นาน ตื่นกลางคืน แม่เหนื่อย งั้นก็เสริมนมผง จะเป็นไรไป (ติดจุกค่ะ อ่านข้อ 1)
วิธีแก้>> แม่นอนกลางวันกับลูกนะคะ
เวลาแม่ท้อง ลูกดิ้นกลางคืนมากกว่าตอนกลางวัน ถูกไหมคะ จึงต้องใช้เวลาปรับตัว
แม่ก็ด้วยนะคะ ที่ธรรมชาติเค้าให้แม่ท้องแก่ตื่นเข้าห้องน้ำกลางดึกบ่อยๆ ก็เพราะจะให้แม่หัดตื่นเช่นกันค่ะ

5) ดูดทั้งวันทั้งคืน
เพราะหน้าที่ลูกคือดูดกระตุ้นให้แม่สร้างน้ำนมอีก ถ้าอยู่กลางป่าเขาที่ไหน เด็กจะมีชีวิตรอด น้ำนมพอแน่นอนค่ะ
ในทางกลับกัน แม่ที่เสริมนมผง น้ำนมไม่พอทุกคน ไม่เคยเจอใครที่น้ำนมพอเลย
วิธีแก้ >> ให้ดูดค่ะ นอนให้กินบ้าง ใช้เป้อุ้ม/เบบี้สลิงบ้าง หาคนช่วยทำงานบ้าน
ถ้าลูกกินนมแม่ล้วนๆ ฉี่มากกว่า 6 ครั้ง/วัน แสดงว่านมพอค่ะ
ไม่ต้องไปชั่ง ก่อนและหลัง เครียดเกินนะคะ
และไม้ต้องปั๊มออกมาดูค่ะ (อ่านข้อ 3)

6) ลูกงอแง ดูดไปซักพัก จะบ่นไป ร้องไป
นั่นคืออาการของน้ำนมเริ่มฉีดและกลืนไม่ทันค่ะ
วิธีแก้ >> คว่ำหน้าลูกดูดบนอก หรือปั๊มนมออกบางส่วน ระบุว่าเป็นนมส่วนหน้าเพราะจะใสกว่านมส่วนหลัง กระตุ้นให้อึคืะ ให้ทานตอนลูกไม่ค่อยอึได้ (อ่านข้อ 7)

7) อยู่ๆ ลูกไม่อึ
ลำไส้ทารกทำงานดีขึ้นหลังอาทิตย์ที่ 3-4
จะฉี่ตามปกติแต่อึไม่บ่อยเท่าเดือนแรก
วิธีแก้ >> ไม่ต้องสวนค่ะ ให้กินนมแม่ส่วนหน้าที่ปั๊มไว้ ถ้าไม่มีก็จับเข่าลูกชนพุงกะทิเบาๆ หรือจับปั่นจักรยานกลางอากาศ
กล้ามเนื้อที่ทวารหนักจะหย่อนและลูกจะถ่ายได้ง่ายขึ้นค่ะ
ระวังทะลักเพิร์ส เพราะมันจะเยอะมาก ^^"

มีอีกไหมคะ ทำไมจึงคิดว่านมแม่ไม่พอ?
อ้อ หน้าอกเล็ก!

 แม่นมเล็กค่ะ
จริงๆ ไม่เกี่ยวกันเลยนะคะ
ขนาดของเต้าคือไขมัน ส่วนต่อมน้ำนมมีทุกคนค่ะ ผู้ชายยังมีเลยนะคะ
ถ้าลูกดูดกระตุ้นนมแม่บ่อยพอ วันละ 8-10 มื้อ นมอนุบาลก็สามารถเลี้ยงแฝดได้ค่ะ!
หลายคนคอนเฟิร์มนะคะ
ส่วนใครหน้าอกใหญ่ๆ แต่เสริมขวด ป้อนแก้ว เสริมนมผสม ก็จะมีน้ำนมน้อย ลูกหงุดหงิด อ่าน 1 & 2 ค่ะ

อ่านให้หมดนะคะ พลีส  สู้ๆๆ

Credit: นมแม่ แบบแฮปปี้

Sunday 24 November 2013

ท่อน้ำนมอุดตันบ่อยๆ มะเขือเปราะช่วยได้

ท่อน้ำนมอุดตันบ่อยๆ มะเขือเปราะช่วยได้ค่ะ

เมื่อมีอาการบ่งบอกว่าเป็นเต้านมอักเสบ นมมีก้อนแข็งควรปฎิบัติดังนี้

1.อย่าหยุดให้นมข้างที่เป็น เพราะกลัวว่าลูกจะกินไม่ได้

ความจริงคือ ต้องให้ลูกดูดเป็นข้างแรกเสมอ ดูดให้บ่อยขึ้น ปั๊มให้บ่อยขึ้น นมที่ปั๊มอย่าทิ้ง เก็บได้ กินได้ ตามปกติ

จัดท่าให้คางลูกอยู่ตรงตำแหน่งที่เป็นก้อน อาจต้องตีลังกาดูด ถ้าก้อนอยู่ด้านบน (ตามรูปประกอบ)

อาจให้พ่อแปรงฟันให้สะอาด ลองช่วยดูดดูโดยจินตนาการเหมือนดูดชานมไข่มุกที่ดูดไม่ขึ้น โดยใช้มือช่วยบีบไล่น้ำนมด้วย

2.การประคบอุ่นหรือร้อน จากด้านนอกผิวหนัง อาจไม่ช่วยอะไรมาก เพราะเป็น superficial heat แต่ไม่เสียหายที่จะลองทำดู วิธีที่ได้ผลคือ deep heat โดยการทำอัลตราซาวด์ที่แผนกกายภาพบำบัด ด้วยกำลัง 2 watt/cm2 นาน 5 นาที วันละ 1 ครั้ง โดยทำซ้ำได้ 2-3 วัน (โดยแพทย์เป็นคนสั่งการรักษา) แล้วตามด้วยการบีบน้ำนมไล่ออกมาตามท่อ ร่วมกับการดูดจากลูก จะช่วยให้ที่อุดตันหลุดเร็วขึ้น

3.ต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ถ้าเป็นนานเกิน 48 ชั่วโมงแล้ว ไม่เช่นนั้น อาจพัฒนาจนกลายเป็นฝีได้

ยาปฏิชีวนะที่ใช้ โดยไม่มีปัญหากับการให้นม เช่น dicloxacillin ถ้าแพ้เพนนิซิลลิน ให้ใช้ clindamycin (ปรึกษาแพทย์เรื่องการใช้ยา)

4.ถ้ามีจุดสีขาวที่หัวนม (white dot) ถ้าให้ลูกดูดขณะหิวจัดแล้วไม่หลุด ให้ใช้เข็มปลอดเชื้อ (ซื้อที่ร้านขายยา) สะกิดให้หลุด

5.ถ้าเป็นฝีแล้ว ห้ามให้หมอกรีดแผลเด็ดขาด แต่ให้ใช้เข็มเบอร์ใหญ่ที่สุด พยายามดูดออกหนองออกให้หมด อาจดูดซ้ำหลายๆครั้ง และให้ยาปฏิชีวนะให้นานจนฝีหยุบเป็นปกติ โดยไม่ต้องหยุดให้นมลูก และดูดเต้าได้ตามปกติ เมื่อไม่มีบาดแผลที่เต้า คุณแม่ก็ไม่เจ็บเวลาลูกดูด

แต่ถ้ากรีดเป็นแผลแล้ว แม่ก็จะเจ็บมาก จนให้ลูกดูดไม่ได้ และน้ำนมจะซึมรั่วออกทางแผลตลอดเวลา ทำให้แผลไม่สมานปิด แล้วในที่สุด หมอที่กรีดแผล ก็จะบอกคุณแม่ว่า จำเป็นต้องใช้ยาหยุดน้ำนม ที่ชื่อ parlodel เพื่อให้น้ำนมแห้งไปก่อน แล้วเมื่อแผลหายแล้ว ค่อยให้นมใหม่ ซึ่งในความเป็นจริง คือ ไม่มีใครได้กลับมาให้นมแม่ได้อีกเลย เพราะลูกติดขวดไปแล้ว และนมแม่แห้งไปแล้ว การกู้น้ำนมก็จะยากมากจริงๆ จนคุณแม่ถอดใจท้อไปเสียก่อน

ป้าหมอหวังว่า ต่อไปนี้จะไม่มีกรณี การรักษาฝีที่เกิดจากท่อน้ำนมอุดตันโดยการกรีดแผลอีกต่อไปค่ะ เพราะนอกจากทำให้ต้องเลิกให้นมแม่ไปโดยปริยายแล้ว จะเกิดแผลไม่สวยงามที่เต้านมของคุณแม่อีกด้วย (ที่จริงมีรูปแสดง แต่น่ากลัวมาก ก็เลยไม่เอาดีกว่า)

คนที่มีปัญหาท่อน้ำนมอุดตันบ่อยๆ ควรป้องกันโดยวิธีการต่อไปนี้ เพราะเป็นแต่ละครั้ง จะเจ็บปวดมาก และปริมาณนมจะลดลงหลังจากนั้น

1.รักษาเวลาในการระบายน้ำนมออกจากเต้า อย่าทิ้งนมไว้ในเต้านานเกินไป

2.อย่ากินหวาน มัน แป้ง น้ำตาล

3.กินเลซิทิน 1200 มก. 1 เม็ด เช้า/เย็น ถ้าลูกไม่แพ้ถั่วเหลือง

4.ถ้ายังตันบ่อย ให้ลองหยุดแคลเซียมและน้ำมันปลาที่กินอยู่ หลายคนไม่เป็นอีกเลย หลังจากหยุดสองอย่างนี้

5.ควรฝึกวิธีบีบเต้าให้เกลี้ยงด้วยมือ และ การทำจี๊ดที่หัวนม (ดูวิธีทำได้จากคลิปวิดิโอ) เพราะการใช้เครื่องปั๊มนมเพียงอย่างเดียว อาจเอานมออกได้ไม่เกลี้ยงเต้า

6.มีคุณแม่ท่านหนึ่งค้นพบว่า การกินมะเขือเปราะวันละ 5-6 ผล ช่วยป้องกันการกลับเป็นซ้ำบ่อยๆได้ หลังจากที่ทำทุกอย่าง 5 ข้อข้างต้นแล้ว ก็ยังเป็นแล้วเป็นอีก แต่หลังจากกินมะเขือเปราะ จะดิบหรือสุกก็ได้ ก็ไม่เป็นอีกเลย ข้อเสีย คือ ถ้ากินดิบ ยางของมะเขือจะเกาะติดฟัน ทำให้ฟันดำ จึงต้องแปรงฟันให้ดี แต่ก็ขัดออกได้ค่ะ คุณแม่ทดลองกินได้นะคะ ไม่เสียหายอะไร

ที่มาข้อความ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

สารบัญ นานาความรู้ จาก FB พญ. สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

คลิกที่นี่ เพื่อเข้าอัลบั้ม สารบัญ

การส่งเสริมให้ลูกเห็นคุณค่าของตัวเอง

เด็กไม่จำเป็นต้องได้รับคำชมทุกครั้งที่ทำดีหรือประสบความสำเร็จเล็กๆน้อย เช่น แม่ที่อยากให้ลูกว่ายน้ำเป็นแล้วคอยชมลูกอย่างเลิศลอยทุกครั้งที่ลูกเพียงแต่เอาหน้าจุ่มน้ำ หลังจากหนึ่งชั่วโมงผ่านไป ลูกก็ยังเอาหน้าจุ่มน้ำแล้วเรียกให้แม่ดูทุกครั้งเพื่อให้แม่ชมเชย ลูกเลยว่ายไปไม่ถึงไหนเลย เพราะเขาคิดว่าเอาหน้าจุ่มน้ำแล้วทำให้แม่พอใจได้ การชมเชยมากเกินไปจะทำให้เด็กพัฒนาความสามารถในการพึ่งพาตัวเองไม่ได้ เพราะต้องพึ่งพาให้คนอื่นคอยชม แต่ข้อเสียของการชมมากเกินไป ไม่แย่เท่ากับการทำตรงกันข้าม นั่นคือ การดุด่าตำหนิลูกตลอดเวลา

วิธีที่ดีในการสร้างให้ลูกเห็นคุณค่าในตัวเอง คือการแสดงให้เด็กเห็นความรักของพ่อแม่ที่มีต่อเขา ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องอุทิศตนเสียสละความสุขเพื่อรับใช้เขาตลอดเวลา แต่เป็นการแสดงว่าผู้ใหญ่มีความสนุกและมีความสุขเหลือเกินเวลาที่อยู่กับเขา คอยหัวเราะกับลูกเวลาที่ลูกเล่าเรื่องตลกให้พัง ชื่นชมงานศิลปะที่ลูกทำหรือผลการแข่งกีฬา มีความสุขกับการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การตั้งแคมป์ การแสดงละคร รวมถึงการแสดงออกให้ลูกเห็นว่า ลูกมีความสำคัญเช่นกัน สุภาพและมีเมตตา ไม่หยาบคาย เพิกเฉย หรือไม่เห็นด้วยกับเขา เพียงเพราะว่าเห็นเขาเป็นแค่เด็ก คนที่ฐานะต่ำต้อยที่สุดในบ้าน

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้เกียรติกับเด็กมาก หรือเปลี่ยนลูกมาเป็นคนที่มีศักดิ์ศรีสูงที่สุดในบ้าน จนลืมศักดิ์ศรีของพ่อแม่ จนเด็กไม่นับถือพ่อแม่ เพราะพ่อแม่ทำให้ลูกสำคัญตัวผิด และกลายเป็นคนกร่างในสังคม เช่น หากลูกเรอเสียงดังกลางโต๊ะอาหาร พ่อแม่ควรพูดเตือนให้ลูกปิดปาก แทนที่จะตะคอกว่าเขาให้ได้อาย


Credit Facebook พี่ยอ

พ่อ...ก็ช่วยเลี้ยงลูกได้

เคยรู้สึกไหม...ว่าทำไม สามีไม่ค่อยช่วยเลี้ยงลูกเลย
เราเหนื่อยสายตัวแทบขาด ทำงานสารพัด
ทั้งเลี้ยงลูก ทำงานบ้าน ทำงานประจำของตัวเอง
จนแทบไม่มีเวลาเป็นของตัวเอง

เมื่อสามีกลับมาจากทำงานหรือต่างจังหวัด
ก็จะเล่นกับลูก(บ้าง) ดูบอล ดูทีวี เล่นเกม หรือออกไปสังสรรค์กับเพื่อนนอกบ้าน
กลับไม่(ค่อย)ช่วยแบ่งเบาภาระเราบ้างเลย

แล้วเวลาลูกดื้อ ก็บอกว่าเป็นความผิดเรา หาว่าเลี้ยงลูกไม่เป็นอีก มันน่าน้อยใจนัก
อะไรดีๆ กลับไม่เห็นชม หรือให้กำลังใจสักนิด
เราเป็นคน ก็เหนื่อยเป็น โมโหเป็น ท้อเป็นเหมือนกันนะ
จนบางที อารมณ์เสีย ไปลงกับลูกก็มี...
เฮ้อ..เป็นแม่ที่แย่จริงๆเรา เศร้าจนอยากจะร้องไห้วันละหลายๆรอบ
........................................................
...................................................
.........................................

ปัญหานี้หลายๆบ้านคงจะเคยเกิดขึ้น จากโพสต์ที่แล้ว (เรื่อง แม่ผู้น่าสงสาร)
ผมได้ข้อคิดและแนวทางแก้ไขดังนี้ครับ

1. ผู้ชายส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า หน้าที่การเลี้ยงลูกเป็นของแม่เป็นหลัก
ความคิดนี้อาจสืบเนื่องมายาวนาน ที่ผู้ชายสมัยก่อน เป็นผู้นำครอบครัว
ต้องออกไปทำงาน หาอาหาร ออกรบ เพื่อความอยู่รอด
ภรรยามีหน้าที่ปรนนิบัติ เลี้ยงลูกอยู่บ้าน รอการกลับมาของสามี

แต่ยุคสมัยเปลี่ยนไป ในเมื่อต่างคนต่างทำงาน คงไม่เป็นเรื่องที่ยุติธรรมนัก
ถ้าภรรยาต้องรับหน้าที่ในการเลี้ยงลูก ซึ่งเป็นภาระหนักแต่เพียงผู้เดียว

2. ผู้ชายมักจะยึดติดกับคำว่าผู้นำครอบครัว
ต้องทำงานหาเงิน มีอำนาจปกครองและตัดสินใจเรื่องใหญ่ๆของบ้าน
ไม่ใช่เรื่องหยุมหยิมแบบการเลี้ยงลูก
จนลืมไปว่า การเป็นผู้นำ ต้องเป็นผู้นำในแบบอย่างสำหรับลูก
โดยเฉพาะบ้านที่มีลูกชาย
หากพ่อไม่ได้ใกล้ชิด เลี้ยงลูกด้วยตัวเอง จะให้ลูกซึมซับต้นแบบที่ดีได้อย่างไร

3. พ่อและแม่มีบทบาท ข้อดีที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถเป็นต้นแบบที่ดีให้ลูก
พ่อมักเป็นแบบอย่างที่ดีได้ในเรื่องความหนักแน่น เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว การตัดสินใจ การแก้ปัญหา
ในขณะที่แม่เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องความใส่ใจ ละเอียดอ่อน ความลึกซึ้งทางอารมณ์ ความอดทน

คงจะดีไม่น้อยถ้าลูกได้ใกล้ชิดกับทั้งพ่อและแม่เพื่อเรียนรู้ข้อดีข้อเสียของแต่ละคน
ผสมผสานในสิ่งที่ดี จากความรักและความอบอุ่นที่ได้จากพ่อแม่มาไว้กับตัวเอง

4. ทำความเข้าใจว่า ทั้งพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย มีความเป็นส่วนบุคคล
จึงไม่แปลกที่จะมีความคิด ทัศนคติที่แตกต่างกันในเรื่องการเลี้ยงลูก
แต่ทุกคนมีสิ่งที่เหมือนกันคือ ต่างก็รักและปรารถนาดีกับเด็ก

ดังนั้นผู้ใหญ่ควรจะคุยปรับความเข้าใจกัน ประนีประนอมความต้องการของแต่ละคน
เพราะถ้ายังไม่ลงรอยกัน จะเกิดความไม่คงเส้นคงวาในการเลี้ยงลูก ยิ่งเป็นการทำร้ายลูกทางอ้อม

5. เนื่องจากพ่อหลายๆคน ไม่ทราบหรือไม่เข้าใจว่าบทบาทพ่อของตัวเองนั้นสำคัญกับลูกเพียงใด
ไม่ได้ตั้งใจว่าจะไม่ช่วยเลี้ยงลูก
ดังนั้นการสื่อสารที่ดีจากแม่ จะช่วยให้พ่อหลายๆคนเข้าใจ เห็นความสำคัญของตัวเอง
และร่วมมือในการช่วยเลี้ยงลูกหรือแบ่งเบาภาระแม่ได้มากขึ้น

6. อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ดึงพ่อมาช่วยไม่สำเร็จ คือ
แม่สื่อสารโดยใช้อารมณ์ ตำหนิพ่อ บ่น คร่ำครวญมากเกินไป
โยนงานมาให้ทีเดียวหลายอย่าง ยิ่งทำให้พ่ออึดอัด รำคาญใจและไม่อยากช่วยมากกว่าเดิม

7. ตัวอย่างบทสนทนาที่ดี

“วันนี้ทำงานเหนื่อยไหมจ๊ะพ่อ”

“แม่ขอบคุณพ่อมากเลยนะ ที่ผ่านมาพ่อทำงานหนักเพื่อแม่กับลูกมาตลอด”

“ตอนนี้ พอแม่มีงานมากขึ้น ต้องทำอะไรหลายๆอย่าง จนบางทีอะไรๆมันเลยบกพร่องไปบ้าง
จนตอนนี้แม่เองก็เหนื่อย เครียดที่ดูแลอะไรๆได้ไม่ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะกับลูก”

“แม่เลยอยากขอให้พ่อช่วยเรื่องสอนการบ้านลูกตอนเย็นแทนแม่
แม่จะได้มีเวลาไปเตรียมอาหาร ทำงานบ้าน....พ่อคิดว่ายังไงบ้างจ๊ะ”

“พ่อเป็นคนสำคัญของลูกนะ ถ้าพ่อมีเวลาดูแลลูกมากกว่านี้ ลูกคงมีความสุขมาก”

8. หน้าที่ของผู้นำครอบครัวที่สำคัญอีกอย่างคือ การเป็น “ผู้นำ” ความสุขมาสู่สมาชิกในครอบครัว
เมื่อสมาชิกในบ้านมีปัญหา ต้องพร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งเบา แก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้
บางครั้งอาจต้องเสียสละความสุขส่วนตัว หรือเปลี่ยนวิถีชีวิตเดิมๆไปบ้าง
แต่นี่คือสิ่งที่คนเป็นผู้นำต้องทำ เพราะคุณได้ “เลือกแล้ว” ที่จะรักและดูแลรับผิดชอบคนที่อยู่ข้างๆคุณ
เหมือนที่คุณเคยสัญญากับเค้าก่อนเริ่มใช้ชีวิตร่วมกัน

9. ท้ายที่สุด เมื่อคุยข้อตกลงแล้ว พ่อยังไม่สามารถปรับเวลาให้ลงตัวได้
การสื่อสารกันด้วยเหตุผล เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ก็ยังช่วยให้คนเป็นแม่รู้สึกดีขึ้นได้
บางที แม่ก็ไม่ได้ต้องการให้พ่อทิ้งงานมาช่วยเลี้ยงหรอก
ขอแค่กำลังใจ คำพูดดีๆให้กัน แค่นั้นก็พอ เท่านี้แม่ก็มีแรงฮึดสู้ได้แล้ว

10. ข้อนี้สำคัญมาก...ไม่ว่าจะมีใครมาช่วยหรือไม่ช่วยก็ตามแต่
จงเป็นแม่ที่เห็นคุณค่าและเชื่อมั่นในตนเอง
หน้าที่นี้ยิ่งใหญ่และน่าภาคภูมิใจ และไม่มีใครทำแทนเราได้
มองเรื่องยากให้เป็นเรื่องท้าทาย สนุกกับมัน
เหนื่อยก็พัก แล้วลุกมาสู้ต่อ
พอวันนึงที่ลูกโตขึ้นคุณจะภาคภูมิใจที่เลี้ยงเค้ามาจนโตได้ขนาดนี้

# หมอไปป์ แฮปปี้คิดส์

ที่มาบทความ ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย

ควรให้ เด็กเล็กดูทีวี หรือไม่ อันตรายจริงหรือ ????

ในที่นี้จะหมายถึงแผ่นดีวีดี ยูทูบ ไอแพด ไอโฟน ซัมซุงกาแลคซี่ คอมพิวเตอร์ ด้วยนะคะ

"ลูกชายวัย 4 ขวบชอบดูหนังจากซีดีวันละหลายๆชั่วโมง บางครั้งก็เลียนแบบท่าต่อสู้จากในหนังหรือเอาไปเล่นกับเพื่อนๆจนร้องไห้ เคยอ่านพบว่าเด็กที่ดูทีวีนานๆจะมีพัฒนาการช้า ชอบเลียนแบบและกลายเป็นเด็กก้าวร้าวในที่สุด จะแก้ปัญหาอย่างไรดี เคยใช้วิธีชวนทำกิจกรรมอื่นหรือชวนไปเที่ยวแล้ว แต่ไม่ได้ผล"

สมาคมกุมารแพทย์และจิตแพทย์เด็กแนะนำว่า เด็กแรกเกิดถึง 18 เดือน ไม่ควรดูทีวี วัย 18 เดือนถึง 4 ขวบไม่ควรดูเกินวันละครึ่งชม. เด็กวัย 4 ขวบขึ้นไปไม่ควรดูทีวีนานเกินวันละ 1 ชม. เพราะจะทำให้มีปัญหาต่อไปนี้

ขาดทักษะทางด้านอื่นๆ หรือพัฒนาการช้า เนื่องจากไม่มีเวลาเหลือพอที่จะทำกิจกรรมอื่นซึ่งมีประโยชน์มากกว่า เช่น การเล่นสมมติ การวาดรูประบายสี การสื่อสารพูดคุยกับผู้อื่น ทำให้พูดช้า ความสามารถด้านการอ่านหนังสือไม่ดี ทำให้ผลการเรียนไม่ดี

เด็กจะขาดทักษะในการหาทางออก ในเวลาที่เกิดความเบื่อหน่าย ไม่สบายใจ หงุดหงิด แทนที่จะใช้เวลาว่างไปกับการทำอย่างอื่นที่มีประโยชน์ ทำให้ขาดความคิดริเริ่มและสร้างสรร หรือเมื่อมีปัญหาคับข้องใจ ก็จะใช้วิธีดูทีวีเพื่อฆ่าเวลาหรือลืมปัญหาที่เกิดขึ้น แม้เป็นการชั่วคราวก็ยังดี

การไม่ได้ออกไปวิ่งเล่น ขี่จักรยาน ทำให้ขาดทักษะด้านการเคลื่อนไหว ไม่ได้ออกกำลังกาย ทำให้เป็นคนงุ่มง่าม อ่อนแอติดโรคง่าย

เป็นโรคอ้วนเนื่องจากการนั่งอยู่หน้าจอทีวีมีการใช้พลังงานน้อยมาก ประกอบกับอาจทานขนมขบเคี้ยวขณะดูทีวี
อยากทานขนมหรืออยากได้ของเล่นที่อยู่ในโฆษณา ทำให้มีปัญหาไม่กินข้าว เพราะอิ่มขนมที่ไม่มีประโยชน์ สิ้นเปลืองเงินทอง

เด็กจะเลียนแบบและซึมซับสิ่งที่เห็นจากทีวีทำให้เกิดพฤติกรรมไม่ดีตามมา เช่น ความก้าวร้าว บางครั้งเลียนแบบฮีโร่ซึ่งมีความสามารถพิเศษเช่นเหาะได้ ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต ดังนั้นผู้ปกครองต้องคอยอธิบาย อย่าให้นั่งดูอยู่คนเดียว

หากดูรายการที่น่ากลัวก็อาจเก็บไปฝันร้ายได้

บางคนใช้ทีวีเลี้ยงลูก เปิดรายการเด็กให้ดูตลอดทั้งวันเพราะคิดว่าไม่มีพิษภัย จริงอยู่ว่า ตอนนี้เราเลือกโปรแกรมให้ลูกได้ แต่อีกหน่อยเขาใช้รีโมทเป็น เด็กก็จะเลือกเปิดดูเลือกรายการเองได้ ยิ่งถ้ามีทีวีในห้องส่วนตัวของเด็ก ยิ่งอันตราย

ทางที่ดีอย่าให้ลูกติดทีวีตั้งแต่ต้น สอนให้เขารู้ว่าเราอยู่กันอย่างสงบๆเงียบๆ นั่งอ่านหนังสือ ฟังเพลง ล้อมวงกันเล่านิทาน ก็มีความสุขได้โดยไม่ต้องใช้ทีวี

มีค่านิยมที่ผิด เช่น ต้องหน้าตาดี หุ่นผอมบางแบบนางแบบจึงจะสวย ไม่ให้ความสำคัญกับคุณค่าทางจิตใจ เนื่องจากทีวีไม่สามารถนำเสนอความเป็นจริงได้ทั้งหมด

มีปัญหาพฤติกรรมผิดปกติ คล้ายเด็กไฮเปอร์สมาธิสั้น คล้ายเด็กออทิสติก หมอเคยพบเด็กอายุ 3 ขวบมาด้วยเรื่องไม่พูด ไม่สบตา ชอบเล่นคนเดียว คุณแม่ไม่แน่ใจว่าลูกเป็นออทิสติกหรือไม่ แต่พอพบจิตแพทย์เด็ก คุณหมอยังไม่ฟันธงว่าเป็นอะไร แต่บอกให้ที่บ้านปิดทีวี เพราะเด็กดูทีวีตั้งแต่ตื่นจนเข้านอนเลย ผู้ใหญ่ก็ต้องยอมอดดูไปด้วย (ผลพลอยได้คือผู้ใหญ่ก็รู้สึกได้รับการปลดปล่อยพันธนาการจากทีวีด้วย ทำให้มีเวลาทำอย่างอื่นเพิ่มขึ้น เช่นไปเดินเล่น หรือปิ๊กนิคกัน) ผลคือลูกสบตาและพูดคุยกับคนอื่นมากขึ้นภายใน 2 วัน

การจะให้ลูกเลิกดูทีวี คือ ต้องใจแข็งค่ะ ลูกโวยวายก็อย่าตามใจ ถ้าร้องไห้หนวกหู ก็หาอะไรอุดหูไว้ อาจบอกว่าทีวีเสียหรือสัญญาณล่ม หรือเครื่องเล่นแผ่นซีดีพัง แล้วหากิจกรรมอื่นให้ลูกทำ อย่าให้เขาว่าง เพราะจะคิดถึงทีวีมากขึ้น เวลาผ่านไป 2-3 อาทิตย์ ค่อยเปิดทีวีได้ แต่อธิบายว่า ต่อไปนี้ไม่มีการดูเกินวันละ 1 ชม.และเลือกโปรแกรมที่ดีเท่านั้น ไม่ให้ดูประเภทต่อสู้ ถึงเวลานี้เขาก็เริ่มชินกับการไม่มีทีวีและรู้จักใช้เวลาในการทำกิจกรรมอื่นที่สร้างสรรมากขึ้น บอกลูกถึงข้อเสียของการดูทีวี พูดไปเถอะค่ะ ไม่เข้าใจตอนนี้ก็ไม่เป็นไร ที่สำคัญคือ พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ไม่ควรดูทีวีเยอะเช่นกัน

Credit Facebook พี่ยอ
ที่มาข้อความ Facebook สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

สอนลูก...รับมือความสูญเสีย ตอนที่ 1

บทความนี้ถูกตีพิมพ์ในนิตยสาร ModernMom ฉบับเดือนสิงหาคม 2556 ครับ


...ช่วงเวลาที่เด็กเติบโต อาจพบเจอกับเรื่องราวความสูญเสีย
ไม่ว่าจะเป็นญาติผู้ใหญ่เสียชีวิต หรือแม้กระทั่งสัตว์เลี้ยงตาย

เมื่อเด็กต้องพบเจอเรื่องราวเหล่านี้
คุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีการอย่างไรในการสอนลูกให้รู้จักเรื่องความตาย
และทำใจยอมรับการสูญเสียได้


## เข้าใจการตาย...ที่เป็นเหมือนเรื่องไกลตัว?

เมื่อต้องพูดถึงเรื่องความตายกับลูก คุณพ่อคุณแม่ อาจมีความคิด ความรู้สึกหลายๆอย่างเกิดขึ้น
บางคนรู้สึกกระอักกระอ่วนใจ เพราะไม่รู้ว่าจะพูดแบบไหนให้เหมาะสม และลูกเข้าใจ
บางคนคิดว่าไม่จำเป็นเพราะพูดไปลูกก็คงไม่เข้าใจ จำเป็นต้องรู้เรื่องพวกนี้ด้วยหรือ
รอให้โตน่าจะเข้าใจได้เองได้หรือไม่
บางคนรู้สึกกลัว กังวลใจว่าลูกจะได้รับผลกระทบทางจิตใจ
บางคนคิดว่าเป็นเรื่องอัปมงคลถ้าพูดเรื่องตายกับลูก
จึงเลี่ยงที่จะไม่ตอบกับคำถามของลูกเรื่องนี้

อย่าลืมว่า...ความตาย เป็นธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้น
รวมทั้งมนุษย์เรา ที่มีวงจรชีวิตแบบ เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้
เราจะเห็นภาพการเกิด การเจ็บป่วย ความแก่ชรา ในชีวิตของเราได้อย่างคุ้นเคย
เพราะเป็นสิ่งที่ประสบในชีวิตเราและคนรอบข้างบ่อยๆ
แต่เราลดทอนภาพของการตาย เพราะรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ยาก เป็นเรื่องน่ากลัว
เมื่อนึกถึงการตาย เราจะนึกได้แค่ภาพที่โรงพยาบาล วัด หรือสุสานเท่านั้น
ไม่ใช่เรื่องที่สัมผัสอยู่ในชีวิตประจำวัน

เหตุผลทั้งหมดทั้งมวลนี้ คนทั่วไปจึงเลี่ยงที่จะพูดถึงเรื่องความตาย มองเรื่องความตายเป็นเรื่องไกลตัว

ดังนั้นเมื่อวันหนึ่ง เราต้องเผชิญหน้ากับเรื่องความตาย
เราเองก็ยากที่จะปรับใจ เพราะไม่เคยเตรียมตั้งรับกับเรื่องแบบนี้.....
แล้วลูกของเราล่ะ จะเป็นยังไง?


## ทำความเข้าใจ..กับความเข้าใจเรื่องความตายของลูกน้อย

ความเข้าใจเรื่องการตาย มีอยู่ 4 องค์ประกอบ

1. Irreversibilty ความตายเป็นเรื่อง “ไปไม่กลับ”
ไม่สามารถย้อนคืนหรือฟื้นมาเหมือนเดิมได้
ต่างจากของเล่น ของใช้ ซึ่งเมื่อผุพังเรายังอาจซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานได้

2. Finality/ Non-functionality ความตายเป็นวาระสุดท้ายของชีวิต
ซึ่งการใช้ชีวิตและการทำงานต่างๆจะสิ้นสุดลงอย่างถาวร

3. Inevitability/ Universality ความตายเป็นเรื่องสากล
เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคน ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

4. Causality ความตายมีสาเหตุการก่อให้เกิดและที่มาที่ไปเสมอ

ตามพัฒนาการด้านความคิด
เด็กในช่วงวัย 3-6 ปี ยังไม่สามารถเข้าใจหลักการดังกล่าวได้ชัดเจน จนกว่าจะอายุประมาณ 9-10 ปี
เพราะเด็กยังเต็มไปด้วยความคิดเชิงจินตนาการ
ยังไม่สามารถแยกแยะโลกแห่งความเป็นจริงกับจินตนาการได้ทั้งหมด

## ยิ่งปกปิด หรือพูดอ้อมค้อมเกินไป ลูกอาจจะยิ่งสับสนและหวาดกลัวมากกว่าเดิม

น้องก๊อตวัย 5 ขวบ สังเกตว่าแม่ร้องไห้ หน้าตาเคร่งเครียด
เวลาแม่คุยกับพ่อจะกระซิบเบาๆ เหมือนไม่อยากให้ก๊อตได้ยิน
ก๊อตถามแม่ในสิ่งที่ตัวเองสงสัย แม่บอกก๊อตว่า “ไม่มีอะไรจ้ะลูก”
โดยไม่ทราบว่าคุณยายซึ่งใกล้ชิดกับน้องก๊อตเสียชีวิตไปแล้วจากโรคหัวใจเมื่อคืนนี้
ก๊อตยิ่งสงสัย และคิดว่าตัวเองอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้แม่เป็นเช่นนั้น
เป็นเพราะตัวเองดื้อ ซนอย่างที่แม่เคยดุ ก๊อตรู้สึกผิด ซึมเศร้า และไม่ร่าเริงเหมือนเดิม

จนวันรุ่งขึ้น แม่บอกก๊อตว่า
คุณยายไปสวรรค์แล้ว คุณยายแค่นอนหลับไป แล้วจะไม่ตื่นขึ้นมาอีก
คืนนั้น ก๊อตไม่ยอมเข้านอน เมื่อถูกบังคับให้เข้านอน
ก๊อตงอแง อยู่นานกว่าจะหลับได้ เป็นติดๆกันหลายคืน
แม่มารู้ทีหลังว่า เป็นเพราะก๊อตกลัวว่า ถ้านอนแล้วจะไม่ตื่นแบบคุณยาย

การสอนลูกให้รู้จักและเข้าใจเรื่องความตาย
คล้ายๆกับการสอนเรื่องเพศศึกษาตอนลูกเป็นวัยรุ่น
ยิ่งเราปกปิด อ้อมค้อม จะยิ่งทำให้ลูกสงสัย และเข้าใจ(ไปเอง)แบบผิดๆได้

ดังนั้น พ่อแม่ควรคุยกับลูกเรื่องนี้ด้วยท่าทีปกติ ทำให้เหมือนเป็นเรื่องธรรมดา เหมือนเวลาเราสอนลูกเรื่องอื่นๆ

เรามักจะเลี่ยงใช้คำอื่นๆแทนการใช้คำว่า “ตาย” เพื่อความนุ่มนวลขึ้น เช่น ไปสวรรค์, เสีย, สิ้นใจ
ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องถูกผิดอะไรมากมาย
...แต่ระวังว่ายิ่งใช้คำอ้อมๆมากเท่าไหร่ อาจทำให้เด็กเกิดความสับสนมากขึ้นเท่านั้น

ที่มาข้อความ ชมรมจิตแพทย์ เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย

เก็บเล็ก ผสมน้อย

การสอนลูกเรื่องจำนวน

มีโอกาสคุยกับคุณครูที่สิงคโปร์ผู้ซึ่งพัฒนาโปรแกรมพัฒนาสมองในเด็กเล็ก ครูสอนว่า อย่าสอนเด็กเล็กเป็นตัวเลข number เพราะมันคือแค่สัญญลักษณ์ symbol ให้สอนเป็น quantity แทน เพราะสมองเด็กด้านขวาจะพัฒนาจากการมองรูปที่เป็นปริมาณได้ดีกว่า งานเข้าค่ะ แม่บ้านนี้ ตื่นมานั่งทำการ์ดจุดให้ลูก เพิ่งถึงเลข 7 เอง ให้ลูกดูได้ตั้งแต่ 4 เดือนเลยนะคะ สีแดง สีดำ เป็นสีที่มองเห็นได้ดีในเด็กเล็ก เราสามารถสอนเป็นแบบเรียงเลข นับจำนวนคู่ คี่ หรือแบ่งเป็นชุด เช่น ชุด 1-10, 11-20 หรือ 10 20 30 40 ถึง 100 ได้เช่นกันค่ะ แต่ถ้าเด็กโตหน่อย แอบคิดว่าอยากทำการ์ดให้เป็นรูปสัตว์ ให้มีจำนวนเป็นตัวๆ น้องก็จะไม่เบื่อค่ะ

ที่มาข้อความ Toddle Barn

Other Good Practices

  • สอนลูกให้ลองคิด เช่น "จับแล้วรู้สึกอย่างไร" แทนที่จะบอกลูกว่า "มันแข็งๆ สากๆ เนอะ" 

ภาวะ Terrible twos

ยาวหน่อยนะคะ แต่เข้าใจลูกวัย Terrible twos ได้มากขึ้นจริงๆ ค่ะ
====================
Terrible twos คำคำนี้ แม่ๆ หลายคนคงเคยได้ยิน และเคยพบเจอกับตัวกันมาแล้ว แต่แม่บางคนยังไม่เคยเจอมาก่อน หรือแม่บางคนอาจจะไม่ต้องเจอเลยก็ได้

Terrible twos เป็นทฤษฎีของทางตะวันตกที่นิยามให้กับพฤติกรรมของเด็กวัยประมาณ 2 ขวบ

Terrible (เทอ'ระเบิล) adj. หมายถึง น่ากลัว,น่าเกรงขาม,ร้ายแรง,สยองขวัญ,มหันต์

Terrible twos ก็น่าจะหมายความว่า "2 ขวบสยองขวัญ"

จะสยองขวัญยังไงบ้าง มีบทความที่น่าสนใจมาให้อ่านกันด้วยค่ะ
Terrible twos คืออะไร

พ่อแม่ที่มีลูกผ่านพ้นวัยประมาณ 2 ขวบมาแล้ว คงจะผ่านภาวะ Terrible twos ของลูกกันมาแล้ว ส่วนพ่อแม่ที่ลูกกำลังเข้าสู่วัยดังกล่าวก็เตรียมรับมือกับภาวะ Terrible twos ของลูกกันได้เลย

อะไรคือ ภาวะ Terrible twos?

ลองนึกถึงภาพที่เจ้าตัวเล็กอารมณ์ดีๆ อยู่ แล้วก็สามารถร้องกรี๊ดลั่นบ้าน หรือหงุดหงิดร้องไห้ลั่นบ้านโดยไม่รู้สาเหตุ ทำเอาคนเป็นพ่อ:-)งงันตามๆ กัน พานนึกว่าลูกเจ็บป่วยหรือโดนมดแมลงกัดหรือไม่ แต่แท้จริงแล้ว ลูกของคุณอาจกำลังเข้าข่ายที่ว่านี้ก็ได้เด็กที่เข้าสู่วัย 2 ขวบ มักมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่รวดเร็วมาก ภาวะอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ เช่นนี้เรียกว่า terrible twos เป็นช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของเด็ก จากเด็กที่หัวเราะร่าถูกใจไม่นาน หนูน้อยน่ารักคนเดียวกันนี้ก็จะเปลี่ยนเป็นอาละวาดร้องกรี๊ดลั่นบ้าน เรียกว่า อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ตลอด เพราะลูกกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนจาก เด็กน้อยเตาะแตะ เป็นเด็กที่เดินเหินได้คล่อง ทำให้หนูน้อยสับสนว่าจะออกไปสำรวจโลกให้เต็มที่อย่างใจต้องการหรือจะอยู่กับแม่ดี ทำให้อารมณ์หนูน้อยไม่ดี

แต่อาการแบบนี้จะอยู่สักพัก แล้วก็จะค่อยๆ ลดลง
ก่อนหน้านี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ได้ตั้งข้อสังเกตถึงความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกว่ามีผลต่อภาวะ terrible twos ในเด็กหรือไม่ โดยเริ่มเฝ้าสังเกตการณ์บ้านที่มีลูกวัยเตาะแตะทั้งหมด 60 ครอบครัว ในครอบครัวที่มีลูกวัย 2 ขวบ 6 เดือน จะใช้เวลา 50 นาที และวัย 3 ขวบใช้เวลา 1 ชั่วโมง ในการเฝ้าสังเกตว่า เมื่อเกิดข้อขัดแย้งขึ้นระหว่างแม่กับเจ้าตัวเล็ก บรรดาพ่อแม่ จะมีวิธีจัดการกับลูกอย่างไร

งานวิจัยดังกล่าว พบว่า ครอบครัวที่เด็กควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ค่อยได้ เมื่อเกิดความขัดแย้งกันขึ้น ในที่สุดแล้วแม่จะบังคับข่มขู่ หรือดุลูกให้ทำตามคำสั่งโดยไม่ได้อธิบายเหตุผลให้ลูกเข้าใจ ซึ่งมักจะทำให้เหตุการณ์เลวร้ายลงไปกว่าเดิม
ในขณะที่ครอบครัว ซึ่งแม่ลูกมีระดับความสัมพันธ์แน่นแฟ้น เมื่อเกิดข้อขัดแย้งขึ้น แม่กับลูกจะมีการปรับตัวเข้าหากันโดยอัตโนมัติ มีการสลายข้อขัดแย้งและยอมความกันโดยใช้เหตุผล เพื่อพยายามดูแลรักษาความสัมพันธ์นี้ให้มั่นคง จะสามารถมีการประนีประนอมกันได้ นั่นหมายความว่า เด็กในกลุ่มนี้จะมีภาวะ terrible twos ที่ไม่รุนแรงนัก และเด็กๆ มีพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดี สามารถควบคุมตนเองได้ในระดับหนึ่ง

งานวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่าภาวะ terrible twos สามารถจัดการได้ง่าย หากเด็กใกล้ชิดกับครอบครัว และพ่อแม่ตอบสนองลูกด้วยเหตุผล ทำให้ลูกเกิดความรู้สึกมั่นคงและไว้ใจพ่อแม่นั่นเอง

ขณะเดียวกัน ถ้าพ่อแม่เข้าใจถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยอย่างเหมาะสมอยู่แล้ว ก็จะทำให้สามารถรับมือกับเจ้าตัวน้อยได้อย่างไม่ยากเย็น เพราะนั่นหมายถึงในช่วงที่เด็กเข้าสู่วัย terrible twos แต่พ่อแม่เตรียมรับมือ พยายามสรรหากิจกรรมให้ลูกได้สนุกสนานกับกิจกรรมของครอบครัว ก็จะช่วยผ่อนคลายกับความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ที่ขึ้นๆ ลงๆ ได้
ยกตัวอย่าง กิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้

ช่วงวัยเตาะแตะไปสู่วัยที่สามารถเดิน วิ่งเองได้แล้ว จะชอบเคลื่อนไหวร่างกาย เพราะกำลังเปลี่ยนผ่านสามารถเคลื่อนไหวร่างกายด้วยตัวเองได้ ก็มักจะชอบปีนป่าย ลูกจะสนุกกับการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ในการเดิน วิ่ง กระโดด หรือปีนป่าย เพราะเขาหรือเธอตัวน้อยสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้โดยไม่ต้องพึ่งพ่อแม่ ผู้ปกครองอีกต่อไป ซึ่งหมายถึงการเรียนรู้โลกของเขาก็จะกว้างมากขึ้น เพราะฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจถ้าเด็กวัยนี้จะไม่ชอบอยู่นิ่ง จนบางทีถึงขั้นทำให้คนเป็นพ่อแม่เข้าใจผิดคิดเอาเองว่า ลูกเป็นสมาธิสั้นไปซะอีก

กิจกรรมอีกอย่างที่เด็กวัยนี้ชอบมาก คือ การเล่นบทบาทสมมติ เป็นการเล่นที่ทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ สะกิดต่อมจินตนาการได้อย่างมากมาย หรือบางครั้งอาจจะเล่นเลียนแบบ เช่น เครื่องครัวเด็กเล่น บ้านตุ๊กตา ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาเห็นในชีวิตประจำวันและต้องการเลียนแบบ และอาจจะมีการรื้อข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านบ้าง ก็เป็นเรื่องธรรมดา
ยิ่งถ้าเขาสามารถจับดินสอหรือดินสอสีได้แล้วล่ะก็ เขาจะสนุกสนานกับการขีดๆ เขียนๆ ได้ไม่รู้เบื่อจริงๆ ก็ควรปล่อยให้เด็กๆ ได้ใช้จินตนาการอันบรรเจิดได้อย่างเต็มที่ หรือไม่ก็หาตัวต่อ หรือบล็อกให้ลูกได้นำมาเล่นฝึกกล้ามเนื้อมือได้อีกต่างหาก

เรื่องพัฒนาการของลูกน้อยเป็นเรื่องไม่ยากที่พ่อแม่จะแสวงหาข้อมูล แต่อยู่ที่พ่อแม่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับวัยและพัฒนาการของลูกน้อยได้หรือไม่ เพราะหากเราเข้าใจพัฒนาการตามวัยของลูก ก็สามารถตอบสนองและรับมือได้อย่างทันท่วงที

ดิฉันไม่แปลกใจที่มักจะได้ยินเพื่อนๆ ที่มีลูกอยู่ในวัยเปลี่ยนผ่านดังกล่าว มักจะบอกว่าลูกซน ลูกไม่อยู่นิ่ง ลูกเล่นทั้งวัน บางคนลูกมีภาวะ terrible twos แต่ไม่รู้ ก็เข้าใจว่าลูกดื้อ ลูกซน หรือลูกอารมณ์ร้ายอีกต่างหาก แท้จริงแล้ว พัฒนาการของมนุษย์ในแต่ละช่วง ล้วนมีความสำคัญ และมีช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทั้งสิ้น ไม่ใช่ว่าความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อย่างรวดเร็วจะเกิดเฉพาะช่วงวัยรุ่นเท่านั้น ช่วงวัยทารกก็มีช่วงเปลี่ยนผ่านเหมือนกัน และในขณะเดียวกันในวัยผู้ใหญ่ ก็มีช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่วัยทอง หรือวัยชรา ก็มีช่วงที่อารมณ์เปราะบางได้ง่ายเช่นกัน
เรียกว่าช่วงชีวิตของมนุษย์ มีอารมณ์เป็นตัวแปรในช่วงเปลี่ยนผ่านในแต่ละวัยทั้งสิ้น ฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจ และเตรียมรับมือกับช่วงวัยต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ก็จะไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

กรณีนี้เป็นกรณีที่สัมพันธ์กับห้วงอารมณ์ของมนุษย์ ที่มีความละเอียดอ่อนและต้องอาศัยความเข้าใจและการยอมรับจากคนรอบข้างด้วย
จากบทความนี้ จะเห็นว่าจริงๆ แล้ว ภาวะ Terrible twos หรือ 2 ขวบสยองขวัญนี้ ก็เป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งของลูกน้อยนั่นเอง เป็นความตื่นเต้นอยากรู้อยากลองทำในสิ่งที่ลูกไม่เคยได้ทำมาก่อน

ลูกของเราคงจะภาคภูมิใจกับความสามารถของแกที่สามารถทำอะไรได้เองเพิ่มมากขึ้น โดยไม่ต้องให้แม่ทำให้

หนูเดินเองได้ หนูวิ่งได้ด้วย ดูสิ หนูปีนได้ด้วยนะแม่ เย้ๆๆ ข้างนอกบ้านนั่น แม่เคยอุ้มหนูไป ตอนนี้หนูวิ่งไปได้เองแล้วนะแม่ ถนนนั่นหนูไม่เคยเดินไปเอง หนูเดินไปเองก็ได้นะแม่ !!!

จากที่เคยให้แม่คอยป้อนข้าว คอยหยิบของเล่นให้เล่นให้ดู หนูน้อยของเราก็หยิบจับเองได้ แกใช้มือได้คล่องมากขึ้น แม่ๆ หนูใช้มือได้เก่งมั้ยแม่ ดูสิ หนูขว้างลูกบอลได้แล้ว หนูขว้างของได้ตั้งหลายอย่าง แก้วหนูก็ขว้างได้นะแม่ หนูฉีกกระดาษเป็นแล้ว หนูหยิบเสื้อผ้าออกมาจากตะกร้าได้สบายๆ เลยแม่ดูสิ

อีกหลายๆ ความภูมิใจ ความตื่นเต้นของลูกที่แม่อย่างเราควรจะภาคภูมิใจไปกับแกด้วย แต่หลายๆ ครั้งที่แม่กลับรู้สึกตรงข้ามกับลูก แม่เสียงดังเมื่อลูกปีนป่าย วิ่งไปที่ถนน หรือดุว่าเมื่อลูกขว้างปาข้าวของ ฉีกหนังสือ

อย่าไป !!! อย่าวิ่ง !!! อย่าปีน !!! อย่าฉีก !!! อย่า ............... !!!!!

เด็กตัวน้อยคงจะงง และสับสนไม่น้อยกับอารมณ์ของแม่ ว่าแม่เป็นอะไร ทำไมต้องเสียงดังกับหนู ทำไมต้องห้ามหนู ทำไมต้องตีหนู ...

แกคงสับสนว่า แล้วเราจะทำยังไงดี เราจะวิ่งดีมั้ย เราจะเล่นได้มั้ย เราจะหยิบของอันนี้ได้มั้ย เราจะทำอะไรๆ เอง หรือเป็นแบบเก่า ให้แม่อุ้ม ให้แม่ป้อน ให้แม่ทำทุกอย่างให้เราดีมั้ยนะ เราจะทำยังไงดีเนี่ย........
แกเลยแสดงออกมาแบบสับสนเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เพราะว่างงๆ กับอารมณ์ของแม่เหมือนกัน

บางทีแม่ก็ตบมือชื่นชมกับสิ่งที่หนูทำได้ เก่งจังเลยๆๆ แต่ไหงบางทีกลับดุหนูซะได้

แล้วหนูจะทำยังไงดีละแม่ !!!!!!!!!!

ขอขอบคุณบทความเรื่อง "รับมือกับภาวะ Terrible twos ของลูก"
โดย สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน จาก Quality of Life - Manager online
23 เมษายน 2551 ช

ที่มาข้อความ Toddle Barn (Status on 9 July 2013)

สร้างวินัยให้ลูกคุณ2 ขวบปีที่ 2-3

ระหว่างลงรูปของล้อตใหม่ มาอ่านเรื่องนี้รอกันดีกว่าค่ะ ตอนที่ 2 การสร้างวินัยให้ลูกปีที่ 2-3

================================
ขวบปีที่ 2-3
ลูกไม่ได้มีความสามารถในการควบคุมตนเอง(self-control) มาตั้งแต่เกิด แม้ในขวบปีที่2 กล้ามเนื้อของลูกจะแข็งแรงขึ้น เคลื่อนไหวได้มากขึ้น เดินได้ เริ่มพูดได้ และทำอะไรด้วยตัวเองได้มากขึ้น แต่ลูกก็ไม่เข้าใจอะไรอีกหลายอย่าง เช่นไม่เข้าใจว่าถ้าตนทำสิ่งนั้นสิ่งนี้แล้วจะเกิดผลตามมาอย่างไร ไม่เข้าใจว่าคุณรู้สึกอย่างไร และยังไม่สามารถอดทนกับความคับข้องใจได้ สรุปง่ายๆก็คือ ลูกยังไม่มีความสามารถที่จะคิด วิเคราะห์และตัดสินใจได้ เนื่องจากลูกมีความสามารถที่จะทำอะไรได้หลายสิ่งหลายอย่าง แต่ยังไม่มีการควบคุมตนเองที่ดีพอ ดังนั้น เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะช่วยลูกและควบคุมลูกให้อยู่ในวินัยในขวบปีที่ 2 และ 3 การฝึกวินัยอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ

วินัยในชีวิตประจำวัน
ในขวบปีที่ 2-3 ระเบียบวินัยที่ต้องฝึกมักจะเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันนั่นคือ การกิน การนอน การขับถ่าย ฯลฯ ในการฝึกสิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยความสม่ำเสมอและหนักแน่นในการตอบสนองเด็ก ตัวอย่างเช่น หากจะเริ่มฝึกเด็กให้นอนตรงเวลา เด็กก็อาจจะไม่ยอม อาจต่อต้าน แสดงความไม่พอใจโดยการร้องไห้บ้าง งอแงบ้าง แต่ถ้าคุณยืนยันอย่างหนักแน่นให้ลูกเข้านอนตรงเวลา โดยไม่ต้องโอนอ่อนผ่อนตามไม่ว่าลูกจะงอแงอย่างไรก็ตาม ในที่สุดลูกก็จะทำตามคุณและนอนหลับได้ตรงเวลา ลูกจะเรียนรู้ว่า แม้ไม่ชอบก็จำเป็นต้องทำตาม บทเรียนนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากในชีวิต เพราะในชีวิตเรามีบ่อยครั้งที่เดียวที่เราต้องทำในสิ่งที่เราไม่ชอบหรือไม่สบอารมณ์ และเราไม่อาจจะได้ทุกอย่างตามที่เราปรารถนา

คำว่า “ไม่”
ในขวบปีที่ 2-3 ลูกสามารถเคลื่อนไหวได้มากขึ้น มีความสนใจใฝ่รู้มากขึ้น รวมทั้งมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ทำให้คุณต้องเริ่มต้นควบคุมลูกและกำหนดขอบเขตให้ลูก วัยนี้เป็นวัยที่คุณจะต้องเอ่ยคำว่า “ไม่” บ่อยๆ แต่ในขณะเดียวกัน ลูกก็จะเอ่ยคำว่า “ไม่” แก่คุณด้วยเช่นกัน การที่ลูกวัย 2 ขวบพูดว่า “ไม่” เมื่อคุณออกคำสั่งให้ทำบางสิ่งบางอย่างนั้นแปลว่า ลูกกำลังบอกคุณว่า ลูกต้องการเป็นตัวของตัวเอง ลูกจะทำในสิ่งที่เขาอยากทำ และบ่อยครั้งที่ลูกต้องการทำสิ่งนั้นๆด้วยตนเองโดยไม่ต้องการให้คุณช่วย (เช่นตักข้าวกินเอง) คุณไม่ควรคิดว่า ลูกกำลังต่อต้านคุณหรือแกล้งที่จะไม่เชื่อฟัง แท้จริงแล้ว นี่เป็นกระบวนการพัฒนาที่เกิดขึ้นกับเด็กทุกคน ถ้าคุณเข้าใจในข้อนี้ คุณก็จะไม่โกรธเมื่อลูกไม่ทำตามคำสั่ง และคุณจะปฏิบัติกับลูกได้ถูกต้องยิ่งขึ้น เช่น แทนที่จะไปอารมณ์เสียกับลูก (ซึ่งก็จะทำให้เรื่องยุ่งยากขึ้นไปอีก) คุณก็จะค่อยๆพูดกับลูกอย่างหนักแน่น เป็นต้น
การหัดให้ลูกเชื่อฟัง เมื่อคุณสั่งว่า “ไม่” เป็นสิ่งสำคัญ และเป็นก้าวแรกแห่งการฝึกระเบียบวินัย คุณต้องสั่งด้วยความมั่นใจอย่างหนักแน่นด้วยสิทธิอำนาจของความเป็นพ่อแม่ ซึ่งมีหน้าที่ปกป้องดูแลและชี้นำหนทางที่ถูกให้แก่ลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลูกกำลังจะทำสิ่งที่เป็นอันตรายหรือทำให้เกิดความเสียหาย

ความสมดุล
แม้ว่าเด็กจะเรียนรู้คำว่า “ไม่” จากคุณ แต่การพูดว่า “ไม่” และห้ามลูกไปเสียทุกอย่างก็เป็นสิ่งที่จะทำลายพัฒนาการหลายด้านของเด็ก เด็กที่ไม่มีโอกาสได้ทำสิ่งใดตามที่ตนต้องการเลย ก็จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่กล้าทำอะไรเลย ดังนั้นคุณจะต้องเลี้ยงลูกในทางสายกลาง มีทั้งคำสั่งว่า “ลูกทำสิ่งนี้ไม่ได้” และ “ตกลง ลูกจะทำก็ได้” ส่งเสริมให้เรียนรู้และให้ทำอะไรด้วยตนเอง แต่ก็ห้ามลูกด้วยถ้าสิ่งที่ทำนั้นจะเป็นอันตราย พยายามส่งเสริมให้เกิดทั้งความเชื่อมั่นในตนเองและการเป็นตัวของตัวเอง แต่ในขณะเดียวกันก็สอนลูกให้เรียนรู้กฎระเบียบและขอบเขตที่เหมาะสมด้วย

การร้องกรีดและการดิ้นลงมือลงเท้า
พบได้บ่อยมากในช่วงอายุ 2-3 ปี พฤติกรรมแบบนี้มักเกิดตอนที่เด็กถูกขัดใจและไม่ได้ในสิ่งที่เขาต้องการ พฤติกรรมนี้จัดว่าเป็นของธรรมดา ถ้าหากคุณจัดการได้ถูกต้อง มันจะหายไปได้เร็ว แต่ถ้าจัดการไม่ถูก ลูกอาจมีพฤติกรรมดังกล่าวต่อเนื่องไปหลายปีก็ได้ การร้องกรีดและดิ้นลงมือลงเท้านั้น ถ้ามองในแง่ลบเป็นการกระทำที่แสดงว่าเด็กควบคุมตัวเองไม่ได้ รอคอยหรืออดทนต่อความคับข้องใจไม่ได้ แต่ถ้ามองในแง่บวกก็เป็นสิ่งที่แสดงถึงความสามารถของบุคคลในอันที่จะบอกให้คนอื่นรู้ว่าตนเองต้องการอะไร (self-assertion) กฎที่สำคัญที่สุดในการจัดการ ก็คือ อย่าให้แรงเสริมเมื่อเด็กมีพฤติกรรมดังกล่าว วิธีจัดการที่ดีที่สุดคือ การเพิกเฉยต่อการดิ้นอาละวาดนั้น(ตราบเท่าที่เด็กไม่มีอันตราย หรือไม่ได้ทำให้ตนเองบาดเจ็บ) ควรพูดว่า “ ลูกร้องแบบนี้ แม่ฟังไม่รู้เรื่อง พอลูกหยุดร้องแล้ว ค่อยมาคุยกับแม่” เมื่อบอกลูกเสร็จคุณก็ควรหลีกไปอยู่ที่อื่น ถ้าเป็นเด็กที่อายุมากกว่า 4 ขวบคุณอาจจะไปอยู่อีกห้องหนึ่ง แต่ถ้าน้อยกว่า 4 ขวบ คุณควรอยู่ในห้องนั้นด้วยแต่ทำงานของคุณไปโดยไม่สนใจเขา (เพราะเด็กวัยต่ำกว่า 4 ขวบยังมีความวิตกกังวลในการแยกจากผู้เลี้ยงดูที่เรียกว่า separation anxiety )

เป็นตัวอย่างที่ดี
สิ่งสำคัญในวัยนี้คือ การเลียนแบบ เด็กเล็กๆชอบเลียนแบบ ดังนั้นการสร้างวินัยโดยให้ลูกเลียนแบบคุณจึงเป็นวิธีที่ง่ายมาก หากคุณอยากให้ลูกทำสิ่งใดก็จงทำให้เป็นแบบอย่าง เช่น หากอยากให้ลูกเก็บของให้เป็นระเบียบ คุณก็ต้องรู้จักวางของให้เป็นที่เป็นทาง ไม่ใช่คุณเองก็ทิ้งเพ่นพ่าน แล้วมาออกคำสั่งให้ลูกเก็บให้เรียบร้อย ถ้าเป็นเช่นนั้น คุณอาจจะได้ยินลูกตอบกลับว่า “หนูก็ทำเหมือนพ่อนั่นแหละ” หากคุณเป็นแบบอย่างที่ดีทางวินัยตั้งแต่ลูกยังเด็ก ลูกก็จะเก็บสิ่งดีๆที่เห็นจากคุณเข้าไว้ในตัวเขาได้มากทีเดียว ฉะนั้นจงฉวยโอกาสตอนที่ลูกยังเล็ก สร้างวินัยด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดีให้มาก เพราะเมื่อลูกโตขึ้นการเลียนแบบพ่อแม่ก็จะน้อยลง ลูกจะหันไปเลียนแบบคนอื่น เช่นเพื่อนฝูง ดารา นักร้อง เมื่อถึงตอนนั้น หากเขาไม่มีวินัยดีๆอยู่ในตัวจากการปลูกฝังของคุณแล้ว เขาอาจจะรับเอาสิ่งแย่เข้ามาเต็มตัวเลยก็ได้

Cr. www.2pasa.com
ที่มาข้อความ Toddle Barn

"น้ำนมน้อย"

หลายๆ ครั้งไม่ใช่น้ำนมน้อยหรอกนะคะ ตัวอย่างเช่น...

ทารกแรกเกิด - 3 เดือน
>> ดูดนมแทบจะตลอดเวลา
- ก็เพราะกระเพาะยังเล็ก และลูกก็ยังเคยได้อาหารแทบจะตลอดเวลาเมื่ออยู่ในครรภ์

>> ลูกไม่นอน ตื่นกลางคืน หลับกลางวัน
- ก็เพราะลูกเคยดิ้นบ่อยตอนกลางคืน ยังต้องใช้เวลาปรับตัวอีกเป็นเดือนค่ะ

>> วางไม่ได้ วางเป็นร้อง
- ก็เพราะลูกเคยอยู่ในครรภ์ของแม่ ที่อุ่นและโอบรัดกายตลอด 9 เดือน

บางทีไม่ใช่เพราะลูก แต่เป็นเพราะแม่นอยด์เพราะเครื่องปั๊มนม
>> ถ้าปั๊มไม่ออก ไม่ใช่เพราะน้ำนมน้อย แต่ต้องได้ลูกดูดกระตุ้น น้ำนมจะออกเองค่ะ
บางครั้งกรวยปั๊มไม่พอดี หรือเครื่องคุณภาพไม่ดีพอ ปั๊มไม่ออก เราจะยิ่งนอยด์ค่ะ
บีเคยปั๊มได้ 1 ออนซ์ตอน 1 เดือน ก่อนนั้นปั๊มจนหัวนมถลอก แต่ไม่ออกเลยค่ะ
** กรุณาอย่าปั๊มแล้วใส่ขวด เพราะติดจุกจะยิ่งเครียด เสียแรงล้าง-นึ่งขวดและที่ปั๊มนม ยิ่งนอยด์ค่ะ

พอ 1-2 เดือน เริ่มไม่อึเพราะลำไส้ทำงานดีขึ้น >> หรือว่านมไม่พอ? (ไม่ใช่นะคะ)

พอ 2-3 เดือนเริ่มเจอกำปั้นตัวเอง เอามือเข้าปาก น้ำลายมาก >> สงสัยหิว หรือว่านมไม่พอ!? / เพราะฟันน้ำนมซี่แรกใกล้ขึ้นค่ะ

อายุ 3-4 เดือน >> เริ่มตื่นบ่อยตื่นมาร้องจ๊ากๆ / เพราะฟันจะขึ้นตอนกลางคืนเวลาหลับสนิทค่ะ น้องจึงตื่นมางอแง

>> บางครั้งดูดนมแม่ซักพักแล้วงอแง ดูดๆ ปล่อยๆ หรือดูดๆ บ่นๆ / เพราะน้ำนมพุ่งแรงค่ะ ให้ปั๊มออกบางส่วนหรือคว่ำหน้าดูด

>> หลายครั้งเลย (เศร้า) ที่ลูกดูดนมแม่ไม่เป็น โดนป้อนขวดตั้งแต่ที่รพ. เจอนมแม่แล้วไหลไม่ทันใจ มีน้ำนมค่ะ แต่ต้องแก้ติดจุกนะคะ

เห็นไหมคะ นี่เป็นเพียง 1 ประเด็นที่เราคิดว่า "น้ำนมน้อย"
แต่มีสาเหตุเยอะไปหมดที่พร้อมอธิบายได้ว่า ไม่ใช่น้ำนมน้อยค่ะ

และขอบอกว่า สิ่งเดียวที่บ่งบอกว่าลูกได้น้ำนมไม่พอคือ
*** ฉี่ไม่ถึง 6 ครั้งใน 24 ชม. ***
ถ้าลูกฉี่เกิน 6 ครั้ง แสดงว่าได้นมพอค่ะ

และไม่ใช่เพราะแม่ไม่มีน้ำนมนะคะ
แต่เป็นเพราะน้ำนมถูกเอาออกจากเต้าได้น้อย (ต่างกันนะคะ)
ด้วยการที่
1) ลูกดูดผิด อมไม่ลึกพอ อุ้มผิดท่า
2) ลูกมีพังผืดใต้ลิ้นทำให้ดูดได้ไม่ดีนัก
3) ลูกนอนยาวไป มื้อนมไม่พอ (ทารกแรกเกิดควรได้ประมาณ 8-10 มื้อต่อวันค่ะ)

หวังว่าเพื่อนๆ จะเข้าใจลูกรักของเรามากขึ้น และสบายใจขึ้น ให้นมแม่อย่างมีความสุขมากขึ้นนะคะ
น้อยคนมากๆ ที่ให้ลูกดูดกระตุ้นตลอดแล้วจะ "น้ำนมไม่พอ" (เช่น ปัญหาฮอร์โมนผิดปกติซึ่งหายากมาก)
ส่วนมากที่เจอกับแม่ไทย เพราะติดจุกจากโรงพยาบาลซะเยอะ ได้คำแนะนำผิดๆ ได้ยินคำพูดที่บั่นทอนความตั้งใจ แล้วเข้าใจไปเองว่า ชั้นไม่มีนม (Y . Y)

ที่มาข้อความ นมแม่ แบบแฮปปี้

8 คำถามปรามความโกรธและจัดการอารมณ์ในเด็กเล็ก

พอครบ 1 ขวบ ก็เริ่ม demanding เลยเหรอเนี่ย ขัดใจไม่ได้เล้ยยย.....หลายบ้านคงรู้สึกแบบนี้ ลองอ่านเรื่องนี้ดูนะคะ
cr.http://www.ubmthai.com/

=================================
8 คำถามปรามความโกรธและจัดการอารมณ์ในเด็กเล็ก

ความโกรธหรือการโกรธที่เกิดขึ้นกับเด็กนั้น จัดเป็นสภาวะ พื้นฐานทางอารมณ์ของมนุษย์ หากแต่การสอนลูกให้รู้จักวิธีรับมือและควบคุมอารมณ์ ที่พลุ่งพล่านขึ้นมาอย่างฉับพลัน ตั้งแต่เขายังเล็กนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่าง ยิ่ง เพราะถ้าคุณพ่อแม่ปล่อยให้ลูก แสดงอารมณ์โกรธออกมาเรื่อยๆ จนกระทั่งเขา เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ความรุนแรงของการแสดงออกของเขาจะมีมากขึ้นตามลำดับอายุวัยของ ลูก และผลลัพธ์ที่จะตามมาก็คือ ลูกจะมีความบกพร่องทางด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ เมื่อเขาต้องเข้าสังคมกับเพื่อนที่โรงเรียน หรือแม้กระทั่งในขณะที่เขา ก้าวเข้า ไปทำงานในองค์กรใดองค์กรหนึ่ง เขาก็จะกลายเป็นบุคคล ที่ไม่มีใครกล้าเข้าใกล้ เลย แล้วคนที่เป็นทุกข์ที่สุดก็คือ ลูกของเราเอง

ดังนั้น คุณ พ่อคุณแม่จึงต้องคอยเอาใจใส่กับอารมณ์โกรธของลูก ตั้งแต่ที่เขายังเล็กอยู่ " บันทึกคุณแม่" ฉบับนี้ จึงหยิบเอาสัมภาษณ์ อ.นพ.ทัศนวัต สมบุญธรรม จากหน่วย พัฒนาการเด็ก ภาควิชาการกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เกี่ยวกับวิธีสยบอารมณ์โกรธเป็นพืนเป็นไฟของลูกตั้งแต่ยังเนิ่นๆ อยู่ และเสริม สร้างความเข้าใจในอารมณ์พื้นฐานของเจ้าตัวเล็กแบบ เต็มๆ

1. เด็กเริ่มมีความรู้สึกโกรธได้ ตั้งแต่สักอายุประมาณเท่าไหร่

จริงๆ ก็ตั้งแต่เล็กเลยนะครับ เด็กเล็กเขาก็มีความต้องการเกิดขึ้นแล้ว และถ้าเกิดว่า ความต้องการนั้นไม่ได้ รับการตอบสนองที่สอดคล้อง เขาก็อาจจะเกิดความโกรธขึ้นได้ เช่น เด็กเล็กๆ ร้อง เพราะหิวนม หรือเพราะผ้าอ้อมเปียกแฉะ แต่โดยปกติแล้วเด็กในขวบปีแรก จะไม่แสดง ความโกรธออกมาอย่างรุนแรงมากนัก เนื่องจากความต้องการของเขา จะเป็นความต้องการ พื้นฐาน วัยที่โกรธแล้วมักจะมีปัญหาเริ่มเมื่อใกล้ขวบครึ่ง หรือสองขวบเป็นต้น ไป เพราะว่าความต้องการของเขาจะขยายขอบเขต นอกเหนือไปจากความต้องการพื้นฐาน แล้ว เช่น บางครั้งเขาอยากจะไปปีนป่ายตรงโน้น อยากจะไปเล่นของที่มีคม หรืออยาก จะไปทดลองอย่างโน้นอย่างนี้ โดยที่เขาอาจจะยังไม่รู้ข้อจำกัดของตัวเอง ก็ทำให้ เวลาที่เขาถูกขัดใจไม่ได้เล่น ไม่ได้ทำอย่างนั้น ก็จะมีอารมณ์กระฟัดกระเฟียด ขึ้นมา

2. ในเรื่องของการขัดใจ คุณพ่อคุณแม่ ที่มีลูกอยู่ในวัยนี้ ควรจะขัดใจลูกดีหรือตามใจลูกดี

ปกติเด็ก ที่มีปัญหาเรื่องร้องไห้ หรืออยากจะทำโน่นทำนี่ หงุดหงิดมาก มักจะเริ่มที่วัย ประมาณสองขวบ ส่วนการสิ้นสุดนั้นไม่แน่นอน บางคนอาจจะเรื้อรังไปถึง 4-5 ขวบหรือ กว่าได้ เขาเรียกว่า "terrible two" คือ เป็นเด็กวัย 2 ขวบ ที่ดื้อ หงุดหงิด ง่าย สิ่งที่เกิดขึ้นในเด็กวัยนี้ก็คือ เด็กต้องการความเป็นตัวของตัวเอง อยากทำ อยากเล่นแบบนั้น ก็อยากจะลองทำด้วยตัวเอง แล้ววัยนี้ก็จะเป็นวัยที่ต่อต้านด้วย หากเราไม่ให้เขาทำอะไรสักอย่างหนึ่ง เขาก็จะทดสอบขอบเขตว่า เราจะยอมให้ทำได้มาก น้อยแค่ไหน เลยดูเหมือนกับว่า เขาท้าทายกับขอบเขตที่เราวางไว้ ซึ่งที่จริงก็ คือ การที่หนูกำลังเรียนรู้กฎเกณฑ์ของโลกนั้นเอง คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยง สิ่งที่อาจยั่วยุให้เขาเกิดอารมณ์หงุดหงิดได้ เช่น เก็บของมีคม หรือของแตกได้ ที่เขาชอบเล่นให้มิดชิด หากเขาบังเอิญไปได้เล่นเข้าแล้ว เราก็ต้องยืนยันไม่ให้ เล่น โดยเอาคืนมาแล้วอาจหันเหความสนใจ ไปยังเรื่องอื่นแทน โดยสรุปก็คือ เด็กควร มีอิสระและสามารถเลือกได้ ในสิ่งที่เราเลือกไว้ให้เขา แล้ว

3. แล้วเราควรจะช่วยเด็กเล็กๆ นี้ในการ พัฒนาอารมณ์ ให้เหมาะสมตามวัยได้อย่างไร

สิ่งที่เราช่วยได้กับ เด็กวัยนี้คือ ให้เขาได้มีความเป็นตัวของตัวเองในกรอบ ในขอบเขตที่เหมาะสม สมมติ ว่าเขาอยากจะทดลองเล่นของบางสิ่งบางอย่าง ถ้าไม่อันตราย ถ้าเป็นสิ่งที่เหมาะสม กับการเรียนรู้ ก็น่าจะให้เขาเล่น เช่น เด็กเล็กๆ จะชอบทดลองโยนของเพื่อให้ของ ตกลงสู่พื้น เขาค่อยๆ เรียนรู้ว่า การโยนของเบาหรือแรง วัตถุต่างชนิดกัน ผลที่ เกิดก็แตกต่างกัน ในกรณีนี้คุณพ่อคุณแม่ควรมีความอดทนเพื่อให้เขาได้เรียนรู้ และสิ่งของที่จะให้เขาเล่นก็ควรเป็นอะไรที่นิ่มและไม่แตก
หากมีสิ่งของใดที่ เขาอยากเล่น แต่ไม่ได้เล่น (ส่วนใหญ่มักเป็นเพราะ เหตุผลด้านความปลอดภัย) แล้ว เขาร้องดั้นขึ้นมา เราก็ต้องยืนยันหนักแน่นตามนั้น คือ ไม่ให้เขาเล่นเพราะว่า สิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในวัยนี้ก็คือ การฝึกระเบียบวินัยให้แก่เด็ก ผู้ใหญ่ ควรสร้างขอบเขตแบบแผนที่ชัดเจน และแน่นอนให้แก่เด็ก เพื่อว่าเด็กจะได้เรียนรู้ รูปแบบและกฎเกณฑ์ของชีวิต เช่น เมื่อเขาต้องการอะไรสักอย่างที่ไม่สมควร ครั้ง แรกเขาอาจจะขอแล้วไม่ได้ ครั้งที่สองลองใหม่ก็ยังไม่ได้อีก ครั้งที่สามเมื่อยัง ไม่ได้ เขาก็จะเลิกตอแยไปเลย เพราะรู้แล้วว่า ถึงอย่างไรก็ขอไม่ได้อยู่ดี แต่ หากเรามีความไม่ แน่นอน เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอยู่เรื่อยๆ เช่น ครั้งแรกเขาอาจจะขอ ไม่ได้ ครั้งที่สองพอเขาร้องดังแล้วเราเริ่มมีท่าทีใจอ่อน เขาจะเริ่มสับสนแล้ว ว่า เอ๊ะ! จะยังไงกันแน่ ครั้งที่สามเลยร้องดังขึ้นไปอีก ทำท่ากระฟัดกระเฟียด มากขึ้น แล้วเราก็ให้เขาได้เล่นสิ่งนั้นจริงๆ สิ่งที่เขาได้เรียนรู้คือ สงสัย ตอนแรกร้องไม่ดังพอ พ่อแม่เลยไม่ยอมให้นั่นเอง เหตุการณ์ครั้งต่อไปก็จะมีการที่ ดังกล่าวครั้งนี้อีกและยืดเยื้อยาวนานขึ้น อีก

4. เวลาโกรธฮอร์โมนในร่างกายเด็ก จะ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

มนุษย์เราเวลาโกรธมากๆ ก็จะมีการทำงานของ ระบบประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic nervous system) โดยอัติโนมัติ ซึ่งจะมีสาร และฮอร์โมนหลายชนิดหลั่งออกมา ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกาย "สู้หรือหนี" (Fight or Flight) หัวใจก็จะเต้นแรงและเร็วขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น กล้ามเนื้อ ต่างๆ พร้อมที่จะต่อสู้หรือถ้าสู้ไม่ไหวก็จะหนี ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเราโกรธ แล้วใจจะสั่น หรือบางคนโกรธแล้วจะมีแรงมาก จนทำอะไรรุนแรงเกินกว่าเหตุหากไม่ยับ ยั่งชั่งใจ

5. ความโกรธสามารถที่จะนำมาดัด แปลง เป็นความสร้างสรรค์ได้บ้างไหม

มันก็เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ที่ต้องมีความโกรธ คนเราไม่ใช่เครื่องจักร เพราะฉะนั้นอารมณ์เราจึงมีขึ้นมีลง ความโกรธก็มีข้อดีคือ ทำให้เราได้รู้ว่า สิ่งใดเป็นสิ่ง serious เป็นเสมือน สัญญาณบอกเหตุหรือเตือนภัย แต่บ่อยครั้งทีเดียวที่พอเรามีอารมณ์โกรธแล้วเราควบ คุมตัวเองไม่ได้อยู่ และแสดงออกอย่างผิดๆ เช่น ทำร้ายคนทำลายข้าวของ ตั้งสติไม่ อยู่ หรือไปละเมิดสิทธิ์คนอื่นเขา ในขณะที่บางคนพอเริ่มมีอาการโกรธแล้ว ก็จะรู้ เท่าทันอารมณ์ของตนเอง จะไปขออยู่คนเดียวเงียบๆ สักครู่ หรือออกจากสถานการณ์ ชั่วขณะเพื่อไปตั้งสติ การแก้ปัญหาอารมณ์โกรธอย่างสร้างสรรค์นี้ เป็นสิ่งที่ สามารถปลูกฝังได้ตั้งแต่เด็กยังเล็ก

6. แล้วจะ ปลูกฝังอย่างไรคะ

เช่น ถ้าเด็กโกรธจนก้าวร้าวมาก อาจร้องดิ้น หรือทำร้ายคน ทำลายข้างของ เราก็อาจใช้วิธีปรับพฤติกรรม ที่เรียกว่า Time-Out หรือผมแปลเป็นไทยบอกเด็กๆ ว่า "เวลาสงบสติอารมณ์" ได้ หลักการคือ เราจะเลือก สถานที่ที่น่าเบื่อ ไม่มีอะไรทำ (แต่ต้องปลอดภัยด้วย นั่นคือ เราจะไม่ใช้ห้อง น้ำ ระเบียงหรือห้องนอนของเด็ก) แล้วส่งเขาไปนั่งในที่นั่น โดยไม่ให้ความสนใจ ใดๆ แก่เขาเลย เป็นเวลาเท่ากับอายุเขาเป็นปี เช่น เด็ก 5 ขวบ ก็ 5 นาที หากมี นาฬิกาจับเวลาแบบที่ใช้ในครัว ซึ่งจะมีเสียงเตือนเมื่อครบกำหนดก็จะดีมาก เราจะ ไม่ตอบสนองใดๆ กับเขาเลยในช่วงเวลานั้น เพราะมันจะยิ่งทำให้เขา ร้องมากขึ้นได้ อีก การที่เขาได้ไปนั่งสงบๆ อยู่ตรงนั้น เขาก็จะเรียนรู้ว่า อารมณ์ที่เขา แสดงออกแบบนั้นไม่มีใครยอมรับ และจะเรียนรู้ที่จะสงบสติอารมณ์ ที่พลุ่งพล่าน นั้นด้วยตนเอง จากนั้นเมื่อครบเวลาแล้วเขาก็สามารถลงมาพบ ทำกิจกรรมกับคุณพ่อคุณ แม่พี่น้องได้ตามปกติ แต่ว่าเขาต้องละความโกรธ แล้วทิ้งมันไว้ตรงนั้น
ใน ช่วงต้นหากเด็กยังไม่เคยชินกับวิธีการดังกล่าว คุณพ่อคุณแม่อาจต้องใช้ความหนัก แน่นกับลูกมากเป็นพิเศษ อาจต้องไปจับเขานั่งตักผู้ใหญ่ (โดยเราไม่พูดคุยกับเขา เลย) หรือหากเขานั่งเองได้บ้าง แต่กระโดดลงมาก่อนที่จะครบกำหนดเวลา เราก็จะส่ง เขากลับไปใหม่โดยไขเวลาย้อนไปเท่ากับเวลาที่เขานั่งมาก่อนแล้วในช่วง ต้น

7. แล้วถ้าเด็กโกรธแล้วแสดงพฤติกรรมที่ไม่ ดีออกมา แล้วคุณพ่อคุณแม่ยิ่งไปตีล่ะคะ

ตรงนี้ต้องระวัง เพราะ ว่าในการตีมีผลเสียอยู่หลายอย่าง เช่น เวลาตี พ่อแม่ก็มักจะเลือกเรื่องที่จะตี คือ ตีเฉพาะเรื่องที่สาหัสสากรรจ์เท่านั้น ทีนี้เรื่องที่หนักหนาอย่างนั้น เด็ก มักจะมีอารมณ์อยู่แล้ว พ่อแม่ก็มักจะมีอารมณ์โกรธอยู่ด้วย ] จึงลงเอยด้วยการตี อย่างรุนแรง ทั้งที่ตัวผู้ใหญ่เองก็ไม่ได้ตั้งใจ ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากระบบ ประสาทซิมพาเทติกดังที่ได้กล่าวแล้ว ผลก็คือ จากที่ตั้งใจจะตีเพียงแค่สั่งสอน แต่กลับหลายเป็น จ้ำเขียวห้อเลือดไป จนคุณพ่อคุณแม่มานั่งเสียใจในภายหลัง
ขณะที่ตัวเด็กเองก็จะมีอารมณ์ที่พลุ่งพล่านเหมือนกัน ซึ่งไม่เหมาะสำหรับการ เรียนรู้ แต่พอเมื่อเขาเกิดอารมณ์นั้น เขาก็ถูกจัดการด้วยอารมณ์ของพ่อแม่ที่ รุนแรงกว่า ตัวใหญ่กว่าการเรียนรู้ด้วยวิธีสันติก็เลยไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าหากใช้ วิธีสงบสติอารมณ์ตรงนั้น เด็กก็จะเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดีกว่า ครอบครัวโดยส่วนใหญ่มักมีผู้ที่กล้าตีเด็กเพียงคนเดียว คือ คุณพ่อหรือคุณแม่ เด็กก็จะเรียนรู้เงื่อนไขอีกอย่างหนึ่งว่า หากทำผิดแบบเดียวกัน แต่คนตีไม่อยู่ เขาก็ไม่ถูกตี ซึ่งเป็นเสมือนหนึ่งว่าสามารถทำความผิดนั้นได้ เป็นการฝึกให้เด็ก มีลักษณะหน้าไหว้หลังหลอก โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ และหากตีบ่อยๆ เด็กก็มักจะเป็น เด็กก้าวร้าว วิธีปรับพฤติกรรมอย่างอื่น มักไม่ได้ผล ผลสุดท้ายครูที่โรงเรียน จัดการไม่ได้ จึงต้องลงเอยด้วยวิธีตีเขา อีก

8. พื้นฐานอารมณ์ในเด็กเล็กเขามีอารมณ์ อะไร ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดบ้าง

เด็กแต่ละคนมีพื้นฐานอารมณ์ ไม่เหมือนกัน ขนาดเป็นพี่น้องกัน หรือฝาแฝดกันก็ยังไม่เหมือนกัน เพราะแต่ละคน ที่มีพื้นอารมณ์ดั้งเดิม ติดตัวเขามาอยู่แล้ว พื้นอารมณ์คือลักษณะเฉพาะที่เด็ก แต่ละคนตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เช่น บางคนอาจจะทนกับเสียงหรือแสงที่รบกวนเวลานอน ได้ดี ขณะที่บางคนทนไม่ได้ บางคนชอบกินของแปลกๆ ใหม่ๆ ชอบโลดโผนโจนทะยาน ในขณะ ที่บางคนชอบกินแต่ของที่คุ้นเคย ชอบอยู่คนเดียว เล่นเงียบๆ สงบๆ
เรื่องนี้ เป็นเรื่องสำคัญหากคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้เรียนรู้ลักษณะพื้นอารมณ์ของเด็ก แต่ละคน แล้วคุณพ่อคุณแม่พยายามที่จะปรับสภาวะแวดล้อมหรือการเลี้ยงดู ให้เข้ากับเด็กคน นั้น ก็จะทำให้การเลี้ยงดูเด็กมีความง่ายขึ้น

ที่มาข้อความ Toddle Barn

สร้างวินัยให้ลูกคุณ ขวบปีแรก

โดยส่วนตัว จะโกรธมากเมื่อได้ยินผู้ใหญ่บางคนพูดว่า เด็ก ไม่รู้เรื่องอะไรหรอก ปล่อยให้ทำไป ไม่เป็นไร เพราะตัวเองคิดอยู่เสมอว่า เด็กนี่แหละที่เราต้องสอน ต้องปลูกฝังในสิ่งที่เราอยากให้เค้าเป็น ความมีระเบียบวินัย จริยธรรม คุณธรรม แทรกไว้ในชีวิตประจำวันของลูก อย่าดูถูกการเรียนรู้และสมองของเด็กนะคะ เจ๋งกว่าผู้ใหญ่มากมายนัก

จากหนังสือ หนังสือชื่อ"สร้างวินัยให้ลูกคุณ" เขียนโดยศาสตราจารย์แพทย์หญิง อุมาพร ตรังคสมบัติ อ่านแล้วรู้สึกว่าเข้าใจธรรมชาติของเด็กมากขึ้น เลยอยากนำมาฝาก แต่เนื้อหาค่อนข้างยาว จึงขอแบ่งเป็นตอนๆ ค่ะ ตอนละวันนะคะ

ตอนที่ 1 ขวบปีแรก
ตอนที่ 2 ขวบปีที่ 2-3
ตอนที่ 3 อายุ 3-5 ปี

========================

ขวบปีแรก
การฝึกวินัยในขวบปีแรกยังไม่ใช่เรื่องที่สำคัญมากเท่าในขวบปีที่ 2 และ 3 ทั้งนี้เพราะในขวบปีแรกเด็กยังไม่มีพฤติกรรมที่ต้องการการควบคุบจากผู้ใหญ่มากเท่าไร เด็กเพียงต้องการการดูแลเอาใจใส่ให้กินอิ่ม นอนหลับ และได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสมเท่านั้น ต่อเมื่อเด็เริ่มเคลื่อนไหวได้มากขึ้นในขวบปีที่ 2 การฝึกระเบียบวินัยจึงเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น

อย่างไรก็ตามการเลี้ยงดูในขวบปีแรกอย่างเหมาะสม จะช่วยให้การฝึกวินัยในช่วงต่อมาเป็นไปได้อย่างราบรื่น ถ้าเด็กได้รับการดูแลด้วยความละเอียดอ่อนเพียงพอ มีการตอบสนองความต้องการทางสรีระของเด็กอย่างดีพอ เด็กจะพัฒนาความผูกพันใกล้ชิด (attachment) กับผู้เลี้ยงดู รวมทั้งพัฒนาความไว้วางใจพื้นฐาน (basic trust) ความผูกพันและความไว้วางใจนี้จะช่วยให้พัฒนาการทางจิตใจ อารมณ์และสังคม รวมทั้งสติปัญญาของเด็กดำเนินไปอย่างราบรื่น ทั้งหมดนี้จะช่วยให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ระเบียบวินัย รวมทั้งกฏเกณฑ์ของครอบครัวและสังคมได้ง่าย

พ่อแม่จำนวนมากกลัวว่า ถ้าให้ความสนใจลูกในขวบปีแรกมากเกินไปก็จะเป็นการทำให้เด็กเหลิงหรือเสียนิสัยเนื่องจากถูกตามใจมาก พ่อแม่กลัวว่าเด็กจะเรียกร้องความสนใจอย่างไม่สิ้นสุดและจะเป็นคนที่เอาแต่ใจตนเอง พ่อแม่มักถามดิฉันว่า ถ้าลูกร้องแล้วต้องอุ้มหรือไม่ ถ้าร้องจะกินนมแล้วต้องให้ทันทีหรือไม่ ถ้าอุ้มทุกครั้งหรือรีบเอานมให้กินทุกครั้งโดยไม่หัดให้รอคอยบ้างจะเป็นการตามใจลูกเกินไปหรือไม่?

คำตอบก็คือ เด็กในขวบปีแรกยังไม่รู้จักช่วยตนเอง เด็กยังเคลื่อนไหวไม่ได้และสื่อภาษาไม่ได้ ดังนั้นเมื่อเด็กร้องไห้ก็หมายความว่า เด็กต้องการความช่วยเหลือหรือต้องการบางสิ่งบางอย่าง เช่น เด็กอาจหิว เปียกฉี่ ร้อน หรือปวดท้อง ลูกต้องการให้มีคนเข้ามาดูแลและช่วยบรรเทาความไม่สบายทั้งหลายที่เกิดขึ้น ดังนั้นพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูควรรีบเข้าไปช่วย การช่วยเหลืออย่างรวดเร็วนี้เป็นสิ่งที่จำเป็น และจะไม่ทำให้เกิดปัญหาถูกตามใจเกินไป คำว่า”รวดเร็ว” ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า คุณต้องรีบร้อนวิ่งไปดูลูกจนสะดุดหกล้ม แต่หมายความว่า คุณต้องพยายามไปดูลูกโดยเร็ว ไม่ใช่เฉยเมยและปล่อยให้ลูกรอนานหรือร้องนานจนหมดแรง การปล่อยให้เด็กทารกร้องอยู่นานไม่ใช่สิ่งที่ดี อย่างไรก็ตามเมื่อลูกโตขึ้น ลูกก็จะรอได้นานขึ้น ดังนั้นในช่วงปลายปีแรก คุณก็คงไม่ต้องรีบร้อนชงนมให้ลูกเท่ากับช่วง 2-3 เดือนแรก เพราะลูกสามารถเล่นกับของเล่นที่วางอยู่ข้างๆได้ ในขณะที่รอให้คุณชงนม

ในขวบปีแรกการตอบสนองเมื่อเด็กต้องการความสนใจและการดูแลช่วยเหลือแบบที่กล่าวมานี้ จะไม่ทำให้เด็กติดนิสัยหรือเอาแต่ใจตัว แต่เมื่อเด็กเริ่มโตขึ้น เช่นในขวบปีที่ 2 เป็นต้นไป คุณควรหัดให้ลูกเริ่มรู้จักรอคอยทีละเล็กทีละน้อย หากคุณวิตกกังวลมากไม่อยากให้ลูกร้องเลย และคอยทำให้ลูกหรือตอบสนองลูกเสียก่อนที่ลูกจะเรียกร้องหรือเกิดความต้องการใดๆ ก็อาจเป็นการทำให้เด็กไม่มีโอกาสพัฒนาการอดทนรอคอย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตและจะทำให้ลูกกลายเป็นเด็กที่เอาแต่ใจตนเองได้

Credit: www.2pasa.com
ที่มาข้อความ Toddle Barn

30 วิธีพูดดี ให้ลูกทำตาม

30 วิธีพูดดี ให้ลูกทำตาม ลองดูนะคะ

การพูดกับลูกเพื่อให้ลูกเชื่อฟั
งและทำตามบางครั้งไม่ใช่เรื่องง่าย การพูดกับลูกมีความสำคัญมากเพราะนั้นถือเป็นต้นแบบในการสอนลูกที่จะเรียนรู้ในพูดคุยกับคนอื่นด้วย วันนี้ผู้เขียนมี เทคนิค 30 วิธีง่าย ๆ ในการพูดให้ลูกทำตามดังนี้

1.ประสานสายตาก่อนการพูด ก่อนที่จะเริ่มพูดกับลูกให้ประสานสายตากับลูกก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าลูกฟังอยู่ นั่งลงอยู่ในระดับเดียวกับลูก และมองลูกด้วยสายตาแห่งความรักไม่ใช่การขู่บังคับ

2.เรียกชื่อลูก เริ่มต้นการพูดด้วยการเรียกชื่อ เช่น น้องเดือน แม่ขอให้หนู........

3.พูดสั้น ๆ แต่ได้ใจความ อย่าพูดมากหรือบ่นมาก เพราะลูกจะจับใจความไม่ได้ และไม่รู้ว่าเราต้องการอะไร

4.ใช้คำพูดง่าย ๆ ใช้ถ้อยคำที่เข้าใจง่ายและได้ใจความกับลูก อย่าบ่น หรือสาธยายมากเกินไป เพราะจะทำให้ลูกไม่เข้าใจและทำหูทวนลมมากเท่านั้น

5.ทดสอบความเข้าใจ โดยให้ลูกตอบกลับมา ถ้าลูกตอบกลับไม่ได้ นั่นแสดงว่ายากและยาวเกินไป ลูกไม่เข้าใจ

6.ใช้ทางเลือกอื่นที่ไม่ใช่การลงโทษ เช่นแทนที่จะพูดว่า ถ้าไม่ทำนะ เดี๋ยวคุณแม่กลับมาจะตีให้ก้นลายเลย เป็น หากลูกช่วยคั้นกะทิให้แม่ ลูกจะช่วยแม่ได้เยอะเลย เดี๋ยวคุณพ่อกลับมาเราจะได้ทานข้าวกัน เป็นต้น

7.ให้ข้อเสนอที่ลูกจะปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะกับลูก 2-3 ขวบ เป็นวัยที่ลูกยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ( Egocentric) ลูกจะมีโลกของตัวเองสูง ดังนั้นการใช้ข้อเสนอที่ลูกจะทำตาม จะช่วยลดการโต้เถียงหรือการชวนทะเลาะลงได้ เช่น บอกลูกว่าแต่งตัวซะ เดี๋ยวจะได้ออกไปเล่นข้างนอก

8.พูดทางบวก เช่นอย่าตะโกนเสียงดัง เราควรพูดว่า เราไม่ตะโกนเสียงดัง เพราะจะทำให้เจ็บคอ

9.พูดอย่างมีเป้าหมาย เช่น แม่ต้องการให้หนูแบ่งให้น้องเล่นด้วย แทนที่จะเป็นแบ่งให้น้องเล่นเดี๋ยวนี้ วิธีนี้ใช้ได้กับดีกับเด็กที่ชอบเอาใจ และเด็กที่ไม่ชอบการบังคับ

10.พูดถึงเหตุและผลที่จะตามมา เช่น เมื่อลูกแปรงฟันเสร็จ แม่ก็จะเล่านิทานให้ฟัง หรือเมื่อลูกทานอาหารเสร็จแล้วเราจะออกไปทานไอศกรีมด้วยกัน

11.อย่าคิดว่าลูกดื้อ และไม่ให้ความร่วมมือ ในทางตรงกันข้าม ดูว่าการสื่อสารของเราบกพร่องตรงไหน

12.ร่วมกิจกรรมกับลูก แทนการออกคำสั่ง ว่าปิดทีวีเดี๋ยวนี้ ถึงเวลากินข้าวแล้ว เราอาจใช้วิธีเดินไปนั่งใกล้ๆลูกดูทีวีกับลูกสัก 2-3 นาทีแล้ว ระหว่างช่วงโฆษณาให้ลูกปิดทีวีเอง บอกลูกว่าถึงเวลาทานอาหารแล้ว

13.ให้ตัวเลือกที่ฉลาด เช่น จะใส่ชุดนอนก่อนหรือจะแปรงฟันก่อนดี จะใส่เสื้อสีชมพูหรือสีเขียวดี เป็นต้น

14.พูดตรงไปตรงมา สั้นและง่าย ดูให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการ เช่นหากถามเด็ก 3 ขวบว่าทำไมทำอย่างนี้ เด็กอาจตอบไม่ได้ ให้พูดกับลูกว่า มาคุยกันดูซิว่า สิ่งที่ลูกทำเป็นอย่างไร

15.พูดอย่างสุภาพและให้เกียรติ คุยกับลูกเหมือนอย่างที่เราต้องการให้ลูกคุยกับเรา

16.ไม่บังคับ การบังคับขู่เข็ญ จะทำให้ลูกไม่ให้ความร่วมมือ เช่นพูดว่าลูกต้องทำโน้นทำนี่ให้เสร็จ เปลี่ยนเป็นแม่อยากให้ลูกทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ แม่ดีใจที่เห็นลูกทำ... และแทนที่จะเป็นเช็ดโต๊ะอาหารเดี๋ยวนี้ เปลี่ยนเป็นแม่อยากให้ลูกเช็ดโต๊ะอาหารให้สะอาด อย่าให้ตัวเลือกทางลบกับลูก เช่นเมื่อเวลาอากาศหนาว ให้พูดกับลูกว่าเอาเสื้อหนาวมาใส่ แทนที่จะพูดว่าหนูอยากใส่เสื้อหนาวไหม เป็นต้น

17.ฝึกสังเกตทัศนคติ วิธีคิด และการพูดของลูกเพื่อที่จะตอบสนองต่อความต้องการของลูกได้

18.ใช้ปากกา ดินสอแทนการพูด ลูกวัยรุ่นไม่ต้องการให้เราพูดซ้ำ ๆ ย้ำคิดย้ำทำ การพูดย้ำ ๆ สำหรับลูกวัยรุ่นเป็นเหมือนการยั่วโมโห หรือไม่ไว้ใจ ดังนั้นการจดบันทึกเตือนใจจะเป็นวิธีที่ช่วยให้ลูกวัยรุ่นให้ความร่วมมือได้ดีกว่าการพูดย้ำ ๆ ลองเขียนข้อความเตือนใจตลก ๆ แล้วจะเห็นว่าได้ผลทีเดียว

19.อย่าสักแต่พูด แต่ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เด็ก ๆ เรียนรู้จากการกระทำมากกว่าคำพูด เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูกเพื่อให้ลูกเลียนแบบ

20.เติมถังอารมณ์ของลูกก่อน ก่อนพูดหรือชี้แนะให้ลูก ตรวจดูถังอารมณ์ของลูกก่อนให้แน่ใจว่าพร้อมที่จะฟังเราหรือเปล่า ไม่อย่างนั้นสิ่งที่เราพูดจะไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย

21.พูดเป็นคำคล้องจองให้จำง่าย เช่นมือไว้ช่วยเหลือ ไม่ใช่เพื่อเอาไว้ตี

22.ให้ลูกเลียนแบบ เด็กเล็กต้องบอกหลาย ๆ ครั้ง ต่างจากลูกวัยรุ่น เด็กวัย 3-6 ขวบชอบการเลียนแบบ เมื่อพูดแล้วทำให้ดูและให้ลูกทำตามเป็นเหมือนการเล่นบทบาทสมมติ

23.ให้ลูกคิดเอง ฝึกให้ลูกคิดเอง โดยแทนที่จะพูดว่า ดูซิข้าวของรกรุงรัง กองเป็นภูเขาแล้ว เปลี่ยนเป็น น้องเดือนลองดูซิว่าเราจะเก็บเสื้อกีฬา รองเท้าผ้าใบ และตุ๊กตาสัตว์ไว้ที่ไหนดี เป็นต้น ให้เด็ก ๆ ลองคิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาด้วยตนเอง

24.ทำให้ลูกสงบ เมื่อลูกยิ่งตะโกนเรายิ่งพูดให้เบาลง บางครั้งการเป็นผู้ฟังที่ดี จะช่วยผ่อนคลายความวิตกกังวลของลูก ให้ลูกรู้ว่าเราสนใจ และอยากช่วย บอกลูกว่าเราเข้าใจ และมีอะไรที่ลูกต้องการให้ช่วย สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกสงบลง เมื่อลูกโมโหอย่าโมโหตอบลูก เพราะจะทำให้เรื่องไปกันใหญ่

25.ให้ตัวเลือกที่ดี บอกกับลูกว่าลูกจะไปเดินเล่นที่สนามฟุตบอลคนเดียวไม่ได้ แต่ลูกสามารถเดินเล่นที่สนามหน้าบ้านได้ เป็นต้น

26.เตือนล่วงหน้า เช่น อีก 5 นาทีเราจะกลับบ้านกันแล้ว ให้ลูกบอกลาของเล่น กับเพื่อน ๆ ซะลูก

27.พูดให้ตื่นเต้นเร้าใจ วิธีนี้เป็นการเปิดโลกสำหรับเด็กขี้อาย เช่นวันนี้ทำอะไรที่โรงเรียนบ้าง เปลี่ยนเป็นเล่าให้แม่ฟังหน่อยว่าวันนี้ทำอะไรที่สนุกที่สุดที่โรงเรียน เป็นต้น

28.พูดถึงความรู้สึกของเรากับลูก เช่น “ลูกรู้หรือเปล่าว่าตอนลูกวิ่งเล่นในซุปเปอร์มาร์เก็ตระหว่างที่เราซื้อของกันวันนี้ แม่กลัวแทบแย่ว่าลูกจะหลงทางและหายไป”

29.พูดปิดประเด็น เมื่อลูกไม่ยอมฟัง กระฟัดกระเฟียด หรือต่อรอง บอกลูกว่า อย่างไรแม่ก็จะไม่เปลี่ยนใจ โดยใช้น้ำเสียงที่มั่นคงและจริงจัง ให้ลูกรู้ว่าจำเป็นและเป็นสิ่งที่ต้องทำ

30.รักอย่างไม่มีเงื่อนไขและพูดให้กำลังใจเสมอ เช่นอย่าพูดว่าถ้าไม่กินข้าวเดี๋ยวแม่ไม่รัก ถ้าไม่นอนเดี๋ยวหมาป่ามากัด อย่าต่อรองกับลูกด้วยคำพูดที่ไร้เหตุผล แต่พูดด้วยความรักอย่างไม่มีเงื่อนไขกับลูกเสมอ

Credit FB พี่ยอ
ที่มาข้อความ SuperSun- Special Edu

ลูกโดนเพื่อนแกล้ง

ลูกโดนเพื่อนแกล้ง มันคือ conflict management ฉบับอนุบาลใช่มั้ย

“อยากให้พี่จิบแนะนำทีค่ะ จะสอนลูกให้ป้องกันตัวจากการโดนเพื่อนรังแก แบบที่ไม่ใช่การเอาคืน อ่ะค่ะ
คือสอนลูกว่าเวลาเพื่อนรังแก โดนตีให้เอามือกันไว้ อย่าไปตีคืน ให้ไปบอกครู บอกผู้ใหญ่นะ วันนึงเห็นเพื่อนเอาข้อศอกพยายามมาศอกเค้า เค้าก็ดันออก เพื่อนก็เปลี่ยนวิธี เป็นบีบขา เค้าก็ปัดมือเพื่อนออก เลยไม่รู้ว่าเราสอนลูกผิดรึเปล่าคะ บางคนบอก ทำให้ลูกไม่สู้คน แต่ลูกก็ใช้วิธีที่เราสอนนะคะ และก็ไม่เคยกลับมาฟ้องว่าเพื่อนแกล้ง หรือมีเรื่องกับเพื่อน”

คำถามนี้มาจากน้องที่แม่จิบรู้จักอีกที
พี่ขอตอบทางนี้ เพื่อให้มีประโยชน์ต่อแม่ๆคนอื่นด้วย และเพื่อให้ได้ความเห็นจากแม่ๆที่มีประสบการณ์คล้ายๆกัน

ส่วนตัว แม่จิบไม่นิยมนโยบาย “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” ในทุกรูปแบบ (ยกเว้นใครทำลูกชั้นเจ็บ แกตาย.. เอ๊ย ไม่ใช่ อิอิ) แต่เนื่องจากมีแต่ลูกชาย ประเด็นเรื่องการโดนเพื่อนแกล้ง ไม่ว่าจะเป็นแกล้งแบบทำร้ายร่างกาย หรือโดน bully ไม่ให้เข้ากลุ่ม หรืออะไรก็ตาม บอกเลยว่าเราซีเรียสและห่วงมาก เพราะสังคมเด็กชายมันต้องมีเรื่องกระทบกระทั่งกันที่อาจจะรุนแรง กว่าเด็กหญิงที่แค่สะบัดบ็อบใส่กัน ชิ! พูดง่ายๆ แม่จิบไม่อยากเห็นลูกต้องเข้าสู่วังวนของการชกต่อยกันในทุกรูปแบบ แต่จะมีวิธีไหนที่จะเตรียมพร้อมลูกชายเราให้เติบโตไปแบบเอาตัวรอดได้โดยไม่โดนเพื่อนหาว่าป๊อด นั่นแหละสำคัญ.. ดังนั้น จึงเข้าใจแม่ๆที่มีลูกชายทุกคนที่กลุ้มใจกับเรื่องนี้ และเชื่อว่าแม่ทุกคนคงจะมีวิธีสอนลูกที่ดีในแบบของตัวเอง

สำหรับตัวพี่ ตั้งแต่ลูกเข้าโรงเรียน (เริ่มมีสังคมนอกบ้านที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่น) พี่จะสอนลูกว่า

“ห้ามทำร้ายเพื่อน”

ไม่ว่าจะเป็นการทำคนอื่นก่อน หรือโดนเพื่อนทำร้ายก่อนก็ตาม ห้ามโต้ตอบด้วยการทำกลับ – เหตุผลที่พี่ให้กับลูกก็คือ ต่อให้แม่รู้ว่าลูกจะไม่มีวันรังแกคนอื่นก่อน แต่ถ้าเราโดนทำแล้วเราทำกลับ เกิดครูมาเห็นตอนเราเป็นคนไปตีเค้า ครูจะรู้มั้ยว่าเราป้องกันตัว? ครูอาจจะคิดว่าเราเป็นคนไปรังแกคนอื่นก็ได้ ดังนั้น วิธีป้องกันตัวที่ฉลาดกว่าการทำกลับ ก็คือ

1. บอกเพื่อนว่า “อย่าทำแบบนี้ เราไม่ชอบ” เวลาบอกให้บอกด้วยเสียงอันชัดถ้อยชัดคำ หนักแน่น อย่าทำหงอๆ พูดแผ่วๆ เพราะเพื่อนจะยิ่งได้ใจและทำอีก (ถ้าเค้าเกิดอยากแกล้งขึ้นมา) แต่อย่าหนีไปเฉยๆ เพราะเค้าอาจจะยิ่งตามแกล้ง และเราไม่เคยบอกว่าเราไม่ชอบ เค้าจะรู้มั้ยว่าเราไม่อยากให้ทำ ดังนั้น เค้าใช้กำลังกับเรา อาจจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เราอย่าใช้กำลังตอบโต้ แต่ให้ “พูดกันดีๆแบบคนโตๆว่า อย่าทำ เราไม่ชอบ!”
2. ถ้าบอกแล้วเพื่อนไม่ฟัง ให้บอกเพื่อนว่าถ้ายังไม่ฟัง เราจะบอกครู
3. ถ้าเค้าเลิกทำ ก็แปลว่าเค้าอาจไม่ตั้งใจ และยอมเลิกแล้วต่อกัน ถือว่าเราให้โอกาสแล้ว แต่ถ้าเค้ายังทำซ้ำๆ ให้ไปบอกครูว่าเกิดอะไรขึ้นเสมอ
ประเด็นคือ ถ้าเกิดกรณีพิพาทกับเพื่อน ห้ามใช้ระบบศาลเตี้ยตัดสิน ห้ามทำเพื่อน ห้ามใช้กำลังกับเพื่อน ห้ามเรียกคนอื่นมารุม ให้คนจัดการเป็นผู้ใหญ่ (เช่น ครูหรือครูพี่เลี้ยงเท่านั้น) หน้าที่เราคือ บอกความจริงว่าเกิดอะไรขึ้น ถึงจะเป็นการรับมือกับการโดนทำร้ายร่างกายแบบแมนๆ ที่แม่จะปลื้มที่สุด! (ลูกชอบทำสิ่งที่ดีที่สุดในสายตาแม่ และชอบให้แม่ปลื้ม อิอิ)

ส่วนกรณีที่โดนเพื่อน bully หรือ โดนเพื่อนแกล้งแหย่ให้รำคาญ

อันนี้ต้องเข้าใจว่าเด็กแต่ละคนมีบุคลิคแตกต่างกัน ลูกพี่สองคนโตก็ยังมีบุคลิคไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นคนโต ฮีผ่านช่วงเวลาของการ “เข้าแกงค์, แย่งเพื่อนสนิท, รับเข้าแกงค์, แย่งกันเป็นหัวหน้าแกงค์ และการช่วงชิงพาวเวอร์ของเด็กอนุบาล” มาตั้งแต่ชั้น อ.3 ถามว่าฮีเครียดมั้ย บอกเลยฮีเครียดมาก เพราะลูกพี่เป็นเด็กค่อนข้างขี้อายและไม่กล้าเผอิญหน้ากับ conflict
ฮีใช้เวลาพยายามรับมืออยู่ 1 ปีเต็มๆ กว่าฮีจะซึมซับตรรกะที่แม่สอนว่า
“ลูกจำคำแม่ไว้.. เพื่อนไม่ใช่แฟน ถึงจะต้องมีคนเดียว และคบทีละคน เพื่อนมีได้ทีละหลายๆคน ถ้าเพื่อนคนนี้มีคนอื่นมาแย่งสนิทด้วย เราก็สนิทกันทั้งสามคน แต่ถ้าเราไม่ชอบคนนั้น เราก็ไปสนิทกับเพื่อนคนอื่นได้”
ลูกแม่ไม่ต้องเก็บความช้ำใจมากินใบบัวบกที่บ้าน 555 อันนี้ ลูกจำขึ้นใจ (และหวังว่าฮีจะเก็บไปใช้ตอนโตได้ด้วยเวลาคบผู้หญิง ^^”)

ส่วนลูกคนรอง ฮีไม่สนเรื่องโดน bully และไม่มีใครทำให้ฮีรู้สึกว่าโดน bully ได้ เพราะฮีเชื่อคำสอนของแม่ว่า
“เวลาคบเพื่อน ก็คบเพื่อนที่เราอยู่ด้วยแล้วมีความสุข อยู่กับเพื่อนที่เล่นด้วยแล้วสนุก ไม่ใช่คบเพราะหน้าตา ไม่ใช่คบเพราะฐานะ อย่าจำใจต้องเล่นกับเพื่อนที่ใครๆก็อยากเล่นด้วย หรือเพราะเพื่อนสนิทเราชอบเค้า เราเลยต้องชอบด้วย มันไม่จำเป็น เพราะการคบเพื่อนเป็นสิทธิ์ของเรา เลือกเพื่อนก็เหมือนเลือกแฟน ความรักมันห้ามกันไม่ได้ เพื่อนที่ถูกใจก็เหมือนกัน ถ้าต่างคนต่างอยากเล่นด้วยกันก็เล่น แต่ถ้าเราไม่อยากเล่นกับเรา เราก็เล่นกับคนอื่น หรือถ้าเราไม่อยากเล่นกับเค้า ก็ไปเล่นกับคนอื่น อย่าไปฝืนทน มันไม่สนุกด้วยกันทั้งสองฝ่าย”
จบ! ฮีสุดแสนจะสบายใจ ไม่เคยมีปัญหาเรื่องเข้ากลุ่มเข้าแกงค์ ฮีไม่เคยยึดติดกับเพื่อนคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ ฮีสามารถเล่นได้กับเพื่อนทุกคน ย้ายวงเล่นได้ และมีความสุขเสียด้วย เวลาใครไม่ให้เล่นด้วย ฮีก็ไม่คิดมาก เคยถามเหมือนกันว่าเคยเจอเรื่องแบบนี้ที่โรงเรียนหรือเปล่า ฮีตอบชิลๆว่า “เค๊ย” พอถามว่าแล้วฮีทำไง ฮีบอก “ก็ไม่เห็นต้องทำไง ก็เปลี่ยนไปเล่นกับคนอื่นที่มันสนุก” โอเคนะ.. 555 ลูกดิชั้นเป็นตัวของตัวเองดี แม่ชอบ

คำที่เราสอนลูก ลูกบางคนใช้เวลานานกว่าจะซึมซับและเอามาปฏิบัติใช้เพื่อให้ตัวเองมีความสุข มีความสุขกับตัวเอง และมีความสุขกับการเข้าสังคม ส่วนเวลาที่เราเริ่มไม่แน่ใจว่า.. เราสอนลูกถูกไหม เราทำให้ลูกติ๋มไปหรือเปล่า ไม่สู้คนหรือเปล่า

เราน่าจะลองถามตัวเองก่อนว่า ถ้าเป็นตัวเรา เราจะจัดการกับสถานการณ์นั้นแบบไหน? เราอยากให้ลูกเราโตไปแบบแมนๆ หรือตาต่อตา ฟันต่อฟัน หรือเลี่ยงการเผชิญหน้า แล้วถ้าเราเลี่ยงการเผชิญหน้า เราสอนให้ลูกหนีปัญหาหรือรับรู้ว่ามีปัญหาแต่แค่รับมือกับมันโดยไม่ต้องใช้ความรุนแรง?

แต่ที่แน่ๆ ปัญหาของเด็ก เราต้องสอนให้เด็กรับมือกับปัญหา จะได้เป็นพื้นฐานของการจัดการกับปัญหาของตัวเองได้ในอนาคต ไม่ใช่โตไปคอยถามชาวบ้านว่ารู้มั้ย ชั้นลูกใคร? หรือแม้แต่เข้าไปแทรกกลางโดยการไปมีปัญหากับเพื่อนลูกซะเอง ลูกจะเป็นเด็กไม่รู้จักโตค่ะ หรือหนักไปกว่านั้น ไปมีปัญหากับพ่อแม่ของเด็กคนนั้นด้วย อ่อ ที่สำคัญอย่าสอนไปลูกเลยนะคะว่า “ใครทำ มาบอกแม่ เดี๋ยวแม่ไปจัดการฟาดกบาลมันเอง” เอ่อ.. แบบนั้น ตัวใครตัวมันค่ะ อิอิ

Credit FB พี่ยอ
ที่มาข้อความ เพจ แม่จิบ

การให้อาหารเสริมเร็วเกินไปอาจมีผลเสียต่อทารกได้

วันนี้ได้ทราบข่าวร้าย
จึงขออนุญาตนำเสนอข้อเสียของการให้ทานอาหารเสริมก่อนวัยอันควร (6 เดือน) นะคะ
ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของน้อง และขอให้ดวงวิญญาณของน้องไปสู่สุคติค่ะ/ แอดมิน
----------------------
การให้อาหารเสริมเร็วเกินไปอาจมีผลเสียต่อทารกได้
เพราะสารอาหารไม่เหมาะสมกับทารก หรือมีไม่เพียงพอ

ตัวอย่างเช่น
1) เป็นภูมิแพ้หรือขาดโปรตีน
กล้วยและข้าวบดมีโปรตีนน้อยกว่าน้ำนมแม่
ทำให้ลูกขาดโปรตีนได้

นมวัวและโยเกิร์ต มีโปรตีนขนาดใหญ่
กระตุ้นทำให้เกิดภูมิแพ้ต่อโปรตีนนั้นได้
อาการแพ้สามารถแสดงทันทีหลังอาหาร
หรือแพ้สะสม จนไปเป็นภูมิแพ้ในภายหลังได้

2) ขาดอาหารเพราะทานคาร์โบไฮเดรต/แป้ง
แป้งในกล้วย/ข้าว ฯลฯ ขัดขวางการดูดซึม
อิ่มนาน จึงทำให้ลูกขาดอาหารได้ค่ะ

3) ถ่ายเป็นไขมัน
ลูกยังดูดซึมไขมันได้ไม่ดี ส่งผลต่อการย่อย
การดูดซึมและการขับถ่าย

ผลเสียอื่นๆ ของการรีบป้อนทานอาหารเสริม
- ในทารกที่ยังไม่สามารถชันคอได้
ระบบการกลืนอาจยัง ทำงานไม่สัมพันธ์กันดี
ทำให้มีโอกาสสำลักอาหารเข้าไปในหลอดลมได้

- บางคนลำไส้อุดตัน ถ่ายไม่ออก ลำไส้เน่า ต้องผ่าตัดค่ะ
บางคนกระเพาะทะลุ เพราะระบบย่อยยังทำงานได้ไม่เต็มที่
ส่งผลให้มีแก้สมาก งอแง ไม่สบายตัว

- อาหารเสริมที่ให้พลังงานสูง ทำให้ลูกเป็นโรคอ้วนได้

- ลูกอิ่มนาน อาจมีผลทำให้เกิดการปรับตัว
ทำให้ไขมันในเลือดสูงขึ้น

- อาหารเสริมบางชนิดเติมเกลือ
อาจส่งผลให้ลูกเป็นโรคความดันสูง โรคไต

- อาหารเสริมที่มีน้ำตาล ทำให้ติดหวาน
ฟันผุ ทานอาหารอื่นยาก ไม่ยอมทานอาหารรสธรรมชาติค่ะ

>> แล้ว น้ำ ล่ะ?
ถ้าลูกทานนมแม่ 0-6 เดือน ไม่ต้องทานน้ำค่ะ
เพราะนมแม่มีน้ำมากกว่า 80%
ถ้าให้กินน้ำด้วยจะเปลืองที่ในกระเพาะ
น้ำหนักขึ้นช้า 11% และมีผลให้ขาดอาหารได้ค่ะ

ที่มา นมแม่ แบบแฮปปี้

Saturday 23 November 2013

วิธีอุ้มแบบเซิ้งกระติ๊บ และซูเปอร์แมน

โดย พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

https://www.facebook.com/photo.php?v=422860041124956&set=vb.591075960918555&type=3&theater

ข้อความแชร์จากfanpageอื่นๆ

ขอแชร์อีกรอบค่ะ
ป้าหมอสาธิตอุ้มท่าซูเปอร์แมน ช่วยลดอาการงอแงของลูก
ลูกจะได้ไม่เกิดภาวะ overfeeding ไม่ต้องใช้เต้าสยบลูกอย่างเดียวค่ะ
โดยเฉพาะทารก 0-3 เดือนที่มี suckling reflex อยากจะดูดๆๆ ทั้งที่ตัวเองก็อิ่มแล้ว แม่ทำงานหลายคนประสบปัญหาเนื่องจากป้อนลูกมากเกินไป ทำให้สต็อกเท่าไหร่ก็ไม่พอ ลองใช้วิธีนี้ดูค่ะ

ตามต้องการของเด็กทารกจะต้องการนมแม่ 1 ออนซ์ต่อ 1 ชม. ที่ห่างแม่ คือถ้าแม่ไปทำงาน 8 ชม. ก็ต้องการ 8 ออนซ์ (อาจเตรียมเกินนิดหน่อยแต่ไม่ใช่ป้อนทีละ 4-5 ออนซ์นะคะ ^^ ) ลองดูค่ะ บางครั้งไม่ใช่น้ำนมไม่พอ แต่เราใช้สต็อกเกินความจำเป็นหรือเปล่า >> ส่งผลให้ลูกงอแง อ้วกพุ่งด้วยค่ะ

ที่มาของข้อความ เพจนมแม่





Tuesday 29 October 2013

Overfeeding // กินนมเยอะเกินไป

คือ อาการกินนมเยอะจนมีอาการดังต่อไปนี้

1.นอนร้องเป็นแพะ เป็นแกะ แอะๆๆ แอะๆๆ

2.บิดตัวเหยียดแขนเหยียดขา ส่งเสียงเอี๊ยดอ๊าดๆ คล้ายเสียงประตูไม่หยอดน้ำมัน

3.เสียงครืดคราดในคอ ทำให้เสียงคล้ายเสมหะในคอ เนื่องจากนมล้นขึ้นมาที่คอหอยแล้ว

4.แหวะนมหรืออาเจียนนมออกมาทางปากหรือจมูก

5.พุงกางเป็นทรงน้ำเต้าตลอดเวลา ไม่เคยเห็นพุงแฟบเลย

ถ้าใครมีอาการดังกล่าว พบว่านน.จะขึ้นเกิน 35 กรัมต่อวัน หรือ เกิน 1 กก./เดือน

ดังนั้น ใครที่เข้าใจผิดว่าทารกควรมีนน.เพิ่มขึ้นเดือนละโล โปรดเข้าใจใหม่ค่ะ นั่นคือมากเกินไปแล้ว จนทำให้อึดอัด ปวดท้อง โยเย ร้องไห้กวน

นน.ขึ้นปกติคือ
600-900 กรัม/ด.ในช่วงอายุ 0-3 เดือน
450-600. ก./ด. 4-6 ด.
300 ก./ด. 7-12 ด.

ถ้า overfeeding จากนมแม่ ไม่อันตราย เพราะโตขึ้นหุ่นจะผอมเพรียวได้เอง แต่การอาเจียนบ่อยก็ไม่ดีเพราะจะทำให้กรดจากกระเพาะอาหารย้อนออกมาทำให้หลอดอาหารเป็นแผลได้ ดังนั้น ถ้าคุมสถานการณ์การกิน ไม่ให้กินมากเกินไปได้ ก็ควรทำ

วิธีคุมไม่ให้ลูกกินมากเกินไป คือ ให้ประเมินว่าลูกอึครบ 2 ครั้ง โดยที่แต่ละครั้งมีปริมาณอึกว้างเท่ากับแกนของม้วนกระดาษชำระ คือ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 ซม. หรือจำนวนฉี่ครบ 6 ครั้ง ในหนึ่งวัน (24 ชม.) ลูกพุงกางเป็นน้ำเต้าแล้ว ลูกสะอึกบ่อยแล้ว หากลูกร้องทุกครั้งให้ประเมินดูสถานการณ์เหล่านี้ ถ้าพบว่าได้รับนมเข้าไปมากพอแล้ว ให้ใช้วิธีเบี่ยงเบน โดยอุ้มลูก เคลื่อนไหวไปมา ใช้เปลไกว ใช้จุกหลอกได้ทั้งสิ้น ไม่ต้องกลัวติดมือ ติดเปล ติดจุกหลอก เพราะเราจะใช้แค่ช่วงเวลา 3-4 เดือนแรก ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกปรับตัวกับโลกใบใหม่อยู่ หลังจากนั้นลูกจะเลี้ยงง่ายขึ้นและตะกละน้อยลง เราก็เลิกใช้ ให้เบี่ยงเบนโดยเล่นกับลูก สุดท้ายจริงๆ หากลูกต้องการดูดเต้าให้ได้ ก็ต้องปั๊มนมออกก่อน เพื่อจะได้ไม่ได้รับปริมาณนมเข้าไปมากเกินไป แต่เป็นการดูดเพื่อความพึงพอใจ

แต่การวินิจฉัยไม่ได้ว่าลูกเป็น overfeeding ก็อาจทำให้เกิดผลเสียบางอย่างซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยดังเคสตัวอย่างต่อไปนี้

ทารกวัยเดือนครึ่งกินนมแม่มาตลอด มีปัญหาหายใจครืดคราดเสียงดังมากตอนกลางคืน พ่อแม่พาไปพบหมอมาแล้ว 5 คน วินิจฉัยว่า เป็นหวัด ให้ยากิน ยาหยดจมูก เอ็กซเรย์ปอด และล่าสุดบอกว่าแพ้นมแม่ ให้เปลี่ยนไปกินนมถั่วกระป๋อง คุณพ่อไม่อยากจะเชื่อว่าแพ้นมแม่ ก็เลยพามาปรึกษาป้าหมอ

ตรวจร่างกายพบว่าเป็นเด็กพุงพลุ้ยลักษณะดังรูปประกอบ (แต่ไม่ใช่เด็กคนนี้นะคะ คนนี้เป็นนายแบบ overfeeding อีกคนหนึ่ง) พอถามอาการ 5 ข้อ ก็ถูกหมดทุกข้อ นน.ขึ้นเกินโล เรื่องแพ้อาหารที่ผ่านทางนมแม่ ก็ไม่น่าใช่ เพราะคุณแม่งดอาหารกลุ่มเสี่ยงทั้งนมวัว นมถั่ว ไข่ แป้งสาลี ซีฟู้ดแล้ว อาการก็ยังไม่ดีขึ้น เนื่องจากยังไม่ได้คุมการกินไม่ยั้งของลูกนั่นเอง หากคุมให้นน.ไม่ขึ้นเกินโล อาการก็จะหายไปค่ะ

พอทราบคำตอบ พ่อแม่ก็ยิ้มออก พร้อมกับโล่งอก ว่าเกือบไปแล้ว เกือบต้องหยุดนมแม่ เพราะอาการ overfeeding หรือตะกละของลูกน้อยแล้วไหมหล่ะ

From: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=762498290442987&set=a.591395760886575.156913.591075960918555&type=1&theater

Monday 28 October 2013

พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก

เด็กๆเรียนรู้ว่า ควรรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของตนเอง รู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับความสามารถของตนเอง และนึกคิดอย่างไรเกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบๆตัว โดยเลียนแบบพ่อแม่ทั้งคำพูดและการกระทำ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการสอนสุขนิสัย หรือ พฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ แก่ลูก ไม่ใช่วิธีการให้รางวัล หรือ การลงโทษ แต่ให้ใช้วิธีการส่งเสริมพฤติกรรมที่เป็นบวก และ การปฏิบัติพฤติกรรมดีเป็นแบบอย่างให้ลูกเห็น ซึ่งจะทำให้ลูกเป็นคนที่มีความสุข ถ้าเดิมคุณมีพฤติกรรมที่ไม่ดีดังต่อไปนี้ การเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก จะส่งผลให้คุณมีสุขภาพที่ดีขึ้น และ มีความสุขในชีวิตมากขึ้นอีกด้วย

นิสัยไม่ดีข้อ 1 : ให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอกมากเกินไป
การแสดงความไม่พอใจในรูปร่างของตัวเองออกมา จะแสดงให้ลูกเรียนรู้ว่า การให้คุณค่าตนเองขึ้นกับ การมีผิวขาวใสวิ้งหรือไม่ หรือ ต้องมีหุ่นผอมเพรียว โดยเสียเงินซื้ออาหารเสริมที่โฆษณาว่า กินแล้วจะผิวขาว หน้าเด้ง หรือ ผอมได้โดยไม่ต้องออกกำลังกาย เด็กๆโดยเฉพาะเด็กผู้หญิงจะได้รับอิทธิพลความคิดจากคุณแม่ ลูกอาจไม่พอใจรูปร่างตนเองที่เห็นจากกระจก นำไปสู่การให้คุณค่าตนเองต่ำ หรือ ไม่พอใจในรูปลักษณ์ของตนเอง ทำให้ลูกมีปัญหาควบคุมอาหารอย่างเข้มงวดผิดปกติ หรือ ปัญหาเกลียดการกิน (Anorexia nervosa)

นิสัยไม่ดีข้อ 2 : ใช้การกินเป็นสิ่งระบายความเครียด
ถ้าคุณใช้อาหารเป็นสิ่งชดเชยความทุกข์ใจ ความผิดหวัง ลูกจะเลียนแบบพฤติกรรมนี้ได้ แล้วนำไปสู่ปัญหาโรคอ้วน แต่คุณควรใช้วิธีอื่นในการระบายความเครียด เช่น การปรึกษาเพื่อนฝูง หรือ ไปเดินเล่นผ่อนคลายอารมณ์เครียด

นิสัยไม่ดีข้อ 3 : เล่นไอแพด ไอโฟน สมาร์ทโฟนตลอดเวลา
เด็กที่อยู่หน้าจออิเลคทรอนิคส์มากเกินไป จะมีปัญหาการนอน ปัญหาการเรียน และ น้ำหนักตัวเกิน

นิสัยไม่ดีข้อ 4 : วัตถุนิยม
เด็กผู้หญิงส่วนใหญ่ชอบเล่นแต่งตัวตุ๊กตา แต่อย่าให้ลูกหมกหมุ่นกับกิจกรรมนี้มากเกินไป ควรส่งเสริมให้เล่นอย่างอื่นบ้าง เช่น ออกไปเดินเล่น เล่นกีฬา เพื่อลูกสาวจะได้เรียนรู้เรื่อง ความแข็งแกร่ง พละกำลัง และ ทำให้ลูกเรียนรู้ว่า การออกกำลังกายเป็นวิธีระบายความเครียดและความเหนื่อยล้าที่ดี และ อย่าลืมชมเชยเมื่อลูกแสดงความมีปฏิภาณไหวพริบ หรือ เมื่อลูกมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อย่าเอาแต่ชมว่าลูกสวยเพียงอย่างเดียว

นิสัยไม่ดีข้อ 5 : กินอัลกอฮอล์เพื่อระบายความเครียด
ถ้าคุณพ่อกลับบ้านมาด้วยความเครียดจากปัญหาที่ทำงาน แล้วพูดว่า "ขอกินเหล้าแก้กลุ้มหน่อยเถอะ" จะเป็นการแสดงให้ลูกรู้สึกว่า การกินเหล้าเป็นวิธีที่ดีในการแก้ไขปัญหาหนักอก และ ช่วยให้รู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น เช่นเดียวกับ การกินกาแฟเยอะๆ หรือ เครื่องดื่มชูกำลัง เพื่อเพิ่มความกระปรี้กระเปร่าให้แก่ร่างกาย วิธีที่ถูกต้องในการระบายความเครียด หรือ เพิ่มพลังชาร์ทแบต คือ การออกกำลังกาย การทำโยคะ การทำสมาธิ หรือ งานอดิเรกที่ได้ทำร่วมกันกับคนในครอบครัว

นิสัยไม่ดีข้อ 6 : ทำทุกอย่างเป็นการแช่งขันชิงดีชิงเด่น
การบอกลูกว่า ดูเด็กข้างบ้าน เพื่อนในห้อง หรือ พี่น้องสิ เขาทำโน่นนี่ได้ ไม่ใช่วิธีสร้างแรงจูงใจที่ดีให้แก่ลูก แต่ควรใช้การสร้างแรงจูงใจทางบวก ให้ชมลูกเมื่อลูกพยายามทำอย่างดีที่สุดเท่าที่ลูกทำได้ ช่วยให้ลูกเห็นข้อดีของการได้ออกไปวิ่งเล่นนอกบ้านว่าสนุกเพียงใด ให้ลูกแข่งกับตัวเอง และ ดูว่ามีการพัฒนามากขึ้นอย่างไร คุณอาจช่วยลูกค้นหากิจกรรมที่ลูกชื่นชอบและช่วยฝึกฝน เล่าให้ลูกฟังว่าคุณเองก็ต้องออกกำลังกายเหมือนกันและทำให้คุณรู้สึกดีอย่างไร

นิสัยไม่ดีข้อ 7 : เป็นคนชอบโต้เถึยง หรือ ขัดแย้งกับผู้อื่นตลอดเวลา
ถ้าพ่อแม่โต้เถียงกันตลอดเวลา ลูกๆจะเรียนรู้ว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ ทั้งๆที่ความจริง คือ ยิ่งโต้เถียง ก็จะยิ่งมีปัญหามากขึ้น ดังนั้นคุณควรเรียนรู้วิธีหลีกเลี่ยงการโต้เถียง เพราะการโต้เถียงอาจทำให้คุณรู้สึกดีในเบื้องต้น แต่มักทำให้เหตุการณ์แย่ลงในภายหลัง และ ลูกที่อยู่ในครอบครัวที่มีการโต้เถียงกันตลอดเวลา จะมีความเครียดมากกว่าปกติ

นิสัยไม่ดีข้อ 8 : ขี้นินทา
การนินทาผู้อื่น ที่จริงแล้ว เป็นสัญลักษณ์ของคนที่เห็นคุณค่าของตนเองต่ำ รวมถึงการชอบบริโภคข่าวซุบซิบนินทาในหนังสือพิมพ์ ทีวี นิตยสารดารา ก็ควรงดให้หมดด้วย สู้เอาเวลาไปขี่จักรยาน หรือ เล่นตั้งเตดีกว่า

ถ้าคุณพบว่าที่ผ่านมา คุณแสดงนิสัยไม่ดีเหล่านี้ให้ลูกเห็น จงอย่าคิดว่าลูกไม่สังเกตเห็น ลูกเห็นแน่นอน แต่วิธีแก้ไข คือ ให้บอกลูกเลยค่ะ ว่าที่ผ่านมา พ่อแม่ทำสิ่งไม่ดีอะไรมาบ้าง แต่พ่อแม่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลง โดยอาจให้ลูกช่วยเตือน ลูกจะยินดีมากที่จะช่วยคุณพยายามหยุดนิสัยที่ไม่ดีเหล่านี้ การศึกษาพบว่า หากครอบครัวมีส่วนร่วมในการแก้ไขนิสัยไม่ดี หรือ ปลูกฝังนิสัยที่ดี กับคนในครอบครัว จะช่วยให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น

From:https://www.facebook.com/photo.php?fbid=761764080516408&set=a.591395760886575.156913.591075960918555&type=1&theater

10 สารก่อภูมิแพ้ในบ้านที่คาดไม่ถึง

1. ต้นไม้ในบ้าน : มีสปอร์เชื้อราติดอยู่ตามกระถางต้นไม้และที่พื้นบริเวณที่วางต้นไม้ วิธีลดความเสี่ยง คือ กำจัดใบที่ตายแล้ว ใช้จานรองกระถางต้นไม้เพื่อไม่ให้ดินกระจายออกมานอกกระถางลงพื้นบ้าน และ หลีกเลี่ยงการรดน้ำต้นไม้จนชุ่มโชก

2. สัตว์เลี้ยง : ไม่เพียงแต่ผิวหนังหรือรังแคสัตว์เลี้ยงเท่านั้น แต่น้ำลาย ปัสสาวะ และ อุจจาระของสัตว์เลี้ยง ซึ่งตกอยู่ตามพื้นพรม เฟอร์นิเจอร์ และ เตียงนอนล้วนมีสารโปรตีนซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารก่อภูมิแพ้ได้ทั้งสิ้น วิธีลดความเสี่ยง คือ ไม่ให้สัตว์เลี้ยงเข้าห้องนอน หมั่นทำความสะอาดบ้านบ่อยๆเพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านี้ตกค้างสะสมในบ้าน ล้างมือทุกครั้งหลังจากเล่นกับสัตว์เลี้ยง

3. พรม ผ้าเช็ดเท้า : เป็นแหล่งสะสมฝุ่น ไรฝุ่น วิธีลดความเสี่ยง คือ หมั่นทำความสะอาดบ่อยๆ เอาพรมออกไป ติดตั้งพัดลมดูดอากาศในห้องน้ำเพื่อถ่ายเทอากาศไม่ให้อับชื้น

4. หนังสือ : เป็นอาหารสมองสำหรับคุณ แต่ก็เป็นอาหารสำหรับไรฝุ่น ไรหนังสือด้วยเช่นกัน วิธีแก้ไข คือ หมั่นทำความสะอาด หรือ เก็บหนังสือในตู้ปิด และอย่าให้ห้องเก็บหนังสือชื้น เพราะจะทำให้มีเชื้อราเจริญเติบโตซึ่งเป็นอาหารของไรหนังสือ

5.เฟอร์นิเจอร์กำมะหยี่ หรือ ทำจากผ้า : จะมีตัวไร วิธีแก้ไข คือ หุ้มเฟอร์นิเจอร์ด้วยหนัง ไวนิล หรือ จ้างคนมากำจัดไรฝุ่นบ่อยๆ เฟอร์นิเจอร์ที่เก็บในห้องที่มีความชื้น เช่น ห้องใต้ดิน จะมีเชื้อรามากมาย ให้แก้ไขโดยหาเครื่องมือลดความชื้น

6.เตียงนอน : การอยู่บนเตียงวันละ 8 ชม. จะมีเซลผิวหนังตกหล่นอยู่บนเตียงนอน ซึ่งกลายเป็นอาหารของไรฝุ่น วิธีแก้ไข คือ ใช้ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน กันไรฝุ่นที่เส้นใยทอแน่นจนไรฝุ่นเล็ดลอดขึ้นมาบนเตียงไม่ได้ ซักผ้าปูเตียงด้วยน้ำร้อนทุกสัปดาห์ หลีกเลี่ยงการใช้หมอนที่ซักไม่ได้

7.ตุ๊กตานุ่มนิ่ม : ให้เลือกเพื่อนรักของลูกชนิดที่ซักในน้ำร้อนได้ทุกสัปดาห์ และ ต้องเป่าให้แห้งด้วยเพื่อไม่ให้มีเชื้อรา

8.ห้องน้ำ : เชื้อราชอบขึ้นที่กระเบื้องปูพื้นและผนังห้องน้ำ วิธีป้องกัน คือ ทำห้องน้ำให้แห้ง และ สะอาดอยู่เสมอ ซ่อมแซมจุดที่มีน้ำรั่วไหล ใช้พัดลมดูดอากาศเพื่อระบายความชื้น และ ทำความสะอาดพื้นห้องน้ำด้วยน้ำยาขจัดคราบ

9.ห้องครัว : เป็นสถานที่ที่เชื้อราชื่นชอบ เพราะ ชื้นแฉะ และ มีเศษอาหารซึ่งเป็นอาหารของเชื้อรา วิธีป้องกัน คือ ปิดถังขยะให้มิดชิด ป้องกันไม่ให้แมลงสาบเข้าไปหาอาหารและเพาะพันธุ์ เพราะซากแมลงสาบก็เป็นสารก่อภูมิแพ้

10.เครื่องปรับอากาศ : เป็นที่สะสมของฝุ่น และ เชื้อรา วิธีป้องกัน คือ ใช้ที่กรองอากาศและทำความสะอาดเป็นประจำ

From: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=761757283850421&set=a.591395760886575.156913.591075960918555&type=1&theater

...เลี้ยงลูกท่าไหน ถึงผลักไสให้เขา กลายเป็น Generation ME...




» Gen ที่หลงตัวเองที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามีข่าวที่ฮือฮามากในนิตยสาร “TIME” ที่ทำสกู๊ปหน้าปกเรื่อง “ME ME ME Generation” พร้อมภาพเด็กหญิงวัยสาวกำลังนอนราบกับพื้น และยกกล้องจากโทรศัพท์มือถือขึ้นโน้มลงมาถ่ายรูปหน้าตัวเอง ...

เนื้อหาเกี่ยวข้องกับคนรุ่นใหม่ ที่อ้างข้อมูลของโจเอล สไตน์ จาก “The National Institutes of Health” (สถาบันสุขภาพแห่งชาติอเมริกา) พบว่า

คนรุ่นใหม่กว่า 80 ล้านคนในอเมริกาที่เกิดระหว่างปี ค.ศ. 1980-2000 นั้นหลงตัวเองเป็นสามเท่าของคนรุ่นพ่อแม่ และกว่า 80% ของคนรุ่นนี้ที่มีอายุต่ำกว่า 23 ปี ต้องการได้งานที่มีความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่

คนรุ่นใหม่นั้นได้รับการปลูกฝังเลี้ยงดูภายใต้วัฒนธรรม “แค่เข้าร่วมก็ได้ประกาศนียบัตร” โดยไม่สนใจถึงประสิทธิผล หรือวิธีการ หรือความสำคัญของการเข้าร่ว

ซึ่งทำให้พวกเขามักคิดว่า หากทำงาน พวกเขาควรได้รับการโปรโมตเลื่อนขั้นทุกๆ สองปีโดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาที่ผลงาน หรือประสิทธิภาพ

และจากข้อมูลดังกล่าว เขาเรียกคนกลุ่มนี้ว่า Generation ME หรือกลุ่มที่มองตัวเองสำคัญที่สุด มองว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งอย่าง หรืออีกคำที่เขาเรียกว่าเป็นกลุ่มหลงตัวเอง

คนที่มี “บุคลิกภาพหลงตัวเอง” สรุปคร่าวๆ มักจะมีอาการ และพฤติกรรม ดังนี้

1) ปฏิกิริยาต่อการวิพากษ์วิจารณ์ ด้วยความโกรธแค้น สร้างความน่าละอาย/ขายหน้า และความอัปยศน่าอดสู

2) เอาเปรียบผู้อื่น เพื่อตอบสนองความต้องการชนะ หรือวัตถุประสงค์ของตนเอง

3) มีความรู้สึกว่าตนเองเป็นคนสำคัญมากเกินพอดี

4) พูดขยายเกินกว่าความเป็นจริงเกี่ยวกับความสำเร็จ หรือความสามารถของตนเอง

5) มีใจหมกมุ่นกับจินตนาการความสำเร็จ พลัง อำนาจ ความงาม สติปัญญา หรือรักในอุดมคติ

6) ใช้เหตุผลที่ไม่สมเหตุสมผล กับสิ่งที่ตนเองชื่นชอบ หลงใหล คาดหวัง

7) ต้องการเป็นที่ชื่นชม ยอมรับ และหลงใหลอยู่ตลอดเวลา

เพิกเฉย ไม่เอาใจใส่ต่อความรู้สึกของผู้อื่น และมีความพยายามเพียงน้อยนิดที่จะแสดงความเห็นใจผู้อื่

9) คิดหมกมุ่นอยู่กับผลประโยชน์ และความต้องการของตนเอง

10) ไล่ตามเป้าหมายที่เห็นประโยชน์แก่ตนเอง

แม้จะมีความพยายามในการวิเคราะห์สาเหตุว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แต่ส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนใหญ่ และส่วนสำคัญที่สุดก็คือ การเลี้ยงดูของพ่อแม่มีส่วนอย่างมาก

แล้วเด็กแบบไหนกันที่มีแนวโน้มถูกเลี้ยงดูให้กลายเป็นเด็กรุ่นใหม่ที่ถูกเรียกว่า Generation ME !!

• ประการแรก : ลูกเป็นศูนย์กลางของบ้าน

ถ้าเปรียบเทียบกับการเลี้ยงดูของชาวจีนก็ประมาณว่าจักรพรรดิน้อย ที่พ่อแม่คอยพะเน้าพะนอ อยากได้อะไรก็ได้ ไม่ว่าจะกิน จะนอน จะเล่น จะเที่ยว จะให้ลูกเป็นผู้กำหนดตั้งแต่เล็ก ยกให้ลูกเป็นผู้ตัดสินใจ เพราะรักลูกอยากตามใจลูก

โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งเหล่านี้กำลังหล่อหลอมให้ลูกของเรากลายเป็นเด็กที่เอาแต่ใจตัวเอง และมองตัวเองสำคัญที่สุด ไม่สนใจความรู้สึกของผู้อื่

• ประการที่สอง : ลูกไม่เคยผิดหวัง

สืบเนื่องมาจากการเป็นศูนย์กลางของบ้าน เพราะฉะนั้นเมื่อผู้ใหญ่ในบ้านไม่เคยขัด และตามใจมาโดยตลอด จึงมักตอบสนองในทุกเรื่อง แม้บางเรื่องเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม

เช่น การที่ลูกอยากได้ของเล่นของคนอื่น พ่อแม่ก็จะต้องพยายามหาทางให้ลูกได้ของเล่นชิ้นนั้น ไปขอยืมมา หรือไม่ก็ต้องดิ้นรนหาซื้อของเล่นชิ้นใหม่จนได้ เป็นต้น

• ประการที่สาม : ลูกไม่เคยแพ้

ในที่นี้เป็นเรื่องการแข่งขันที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เล็ก เป็นเด็กที่ต้องชนะ ไม่ว่าจเะเป็นการเล่นเกม หรือการเรียนก็ตาม

ยกตัวอย่าง พ่อแม่ที่เล่นกับลูก ถ้าเป็นเกมที่ต้องมีผู้แพ้ชนะ พ่อแม่มักยอมให้ลูกเป็นฝ่ายชนะตลอด เวลาลูกแพ้ ลูกมักร้องไห้ หรืออารมณ์เสีย

แทนที่พ่อแม่จะสอนให้ลูกรู้จักการแพ้ชนะอย่างเป็นธรรมชาติ และถูกต้องตามกฎกติกา และให้เขาได้รู้จักการจัดการกับอารมณ์นั้น

แต่พ่อแม่มักอ้างว่ารักลูก กลัวว่าลูกเสียใจก็เลยยอมแพ้ลูกตลอด จนเมื่อลูกต้องไปมีสังคมของเขาเอง เมื่อเขาแพ้ก็จะรู้สึกทนไม่ได้ ไม่ชอบหน้าอีกฝ่าย หรือบางทีก็กลายเป็นโกรธผู้นั้นไปเลย

• ประการที่สี่ : ลูกไม่เคยลำบาก

ข้อนี้มักเกิดกับกลุ่มพ่อแม่ชนชั้นกลางขึ้นไป ที่ไม่อยากให้ลูกลำบาก ยิ่งถ้าเป็นพ่อแม่ที่เคยผ่านความลำบากมาแล้ว ก็เลยมีความคิดว่าไม่อยากให้ลูกลำบากอีกต่อไป

ซึ่งเป็นความคิด และความเข้าใจที่ผิด เพราะความลำบากจะทำให้ลูกมีภูมิต้านทานชีวิตที่ดี

• ประการที่ห้า : ลูกไม่เคยแก้ปัญหา

พ่อแม่จัดการแก้ปัญหาให้ลูกหมด เพราะคิดว่าลูกยังเด็ก ลูกคงแก้ปัญหาเองไม่ได้หรอก ทั้งที่บางเรื่องเป็นเรื่องเล็กๆ และเป็นเรื่องของเด็ก แต่พ่อแม่ก็ไม่ปล่อยวางให้ลูกได้ฝึกเจอสถานการณ์ด้วยตัวเอง

พ่อแม่เข้าไปแก้ปัญหา และจัดการให้หมด กลายเป็นจุ้นจ้านต่อชีวิตของลูกไปซะอีก เวลาลูกเจอปัญหาอะไรต้องให้เขาฝึกเผชิญด้วยตัวเอง มิเช่นนั้นแล้ว เขาก็จะมองเห็นแต่ตัวเอง

เมื่อเกิดอะไรขึ้นมา เขาจะมองไม่เห็นปัญหาของคนอื่น หรือโทษว่าเพราะคนอื่นทำให้ฉันเกิดปัญหา

• ประการที่หก : ลูกได้รับคำชื่นชม และชมเชยแบบพร่ำเพรื่อ

การชื่นชม หรือชมเชย หรือให้กำลังใจลูกเป็นเรื่องจำเป็น แต่ต้องมีความพอดี และเหมาะสมกำกับอยู่ด้วย เพราะถ้าชื่นชมมากเกินไป พร่ำเพรื่อเกินไปก็กลายเป็นสร้างปัญหาด้วยซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชื่นชมเพียงแค่เปลือก ชมที่ภายนอก

เช่น ชมว่าลูกแต่งตัวสวย หล่อ หรือหน้าตาดี แต่ไม่ได้ชมที่พฤติกรรมของการทำดี ก็จะทำให้ลูกหลง และถือดีว่าตัวเองหน้าตาดี และนำไปสู่อาการหลงตัวเองได

+ + ฝากทิ้งท้าย + +

ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วมีส่วนทำให้ลูกของคุณเข้าข่ายเป็นเด็กรุ่นใหม่ที่คิดถึงตัวเอง หรือภาษาของคนชาวอเมริกันที่เขาบอกว่าเข้าข่ายหลงตัวเอ

จนถึงกับบัญญัติศัพท์ใหม่ว่า “Generation ME” ที่ต้องการสะท้อนให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่มักมองแต่ตัวเอง

จะว่าไปแล้วอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เกิดพฤติกรรมหลงตัวเองก็คือ “สื่อยุคไร้พรมแดน” เพราะสื่อ และเทคโนโลยีที่พุ่งเป้ามาที่ตัวเด็กโดยตรง

และมองว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สุดแสนจะโอชะ เพราะใช้เงินง่าย ตกเข้าไปในกระแสทุนนิยมก็ง่าย ยิ่งบรรดาสมาร์ทโฟนที่เด็กรุ่นใหม่ใช้กันเกลื่อนเมือง ก็ยิ่งเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้กลุ่มคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มอย่างมากที่ก้าวเข้าสู่การเป็น Generation ME ได้ง่ายขึ้น

ตรงกันข้าม ถ้าเด็กเหล่านี้ได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และถูกวิธี มีการปลูกฝังทักษะชีวิตที่เหมาะสมกับวัย เมื่อถึงวันที่กระแสบริโภคนิยมเข้ามาปะทะตัวเด็กเต็มๆ มีสื่อไฮเทคเข้ามาถึงบ้าน แต่ทักษะชีวิตที่ได้รับการปลูกฝังมาดี

เมื่อถึงเวลานั้น ทักษะที่มี มันจะทำหน้าที่ป้องกันตัวเองได้เป็นอย่างดี

Credit : สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน / Quality of Life / Manager.co.th


From: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151830720864730&set=a.10150225487049730.334450.360925469729&type=1&theater